Home » » พืชที่เหมาะในการทำยาฆ่าแมลง

พืชที่เหมาะในการทำยาฆ่าแมลง




สาระน่ารู้เกี่ยวกับยาฆ่าแมลงปลอดสารพิษ
            
                  ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นประเทศหนึ่งในหลายๆ ประเทศที่กำลัง พัฒนา ซึ่งประสบกับปัญหาเกี่ยวกับอันตรายจากยาฆ่าแมลง หรือการใช้สารปราบศัตรูพืช เนื่องจากยังไม่มี ความรู้ที่เพียงพอในการใช้สารเคมี การป้องกันตนเองและการป้องกันอันตรายแก่ผู้บริโภค เช่น การบริโภค ผลผลิต ที่ยังมีสารเคมี ตกค้างอยู่ การทำความสะอาดไม่ดีเพียงพอ เกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายก่อให้ เกิดอันตรายได้ เป็นต้น           สำหรับในประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศได้มีการห้ามใช้สารพิษบางประเภทที่มีพิษสูง สลายตัว ช้า เช่น ดีดีที อัลดริน เอนดริน ท็อกซาฟีน แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนายังมีการใช้สารเหล่านี้อย่างกว้างขวาง ซึ่งนอกจากสารเคมีเหล่านี้จะมีราคาสูงแล้วยังก่อผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเกษตรกร หรือผู้เพาะ ปลูกเอง เช่น ทำให้แมลง ศัตรูพืชดื้อยา สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม มีสารเคมีพิษสะสมอยู่ ในสิ่งแวดล้อม ใน ปริมาณสูง ปัจจุบันมีการศึกษาสารฆ่าแมลงทดแทนสารฆ่าแมลงตัวเดิมโดยมีการสังเคราะห์ สารพวกไพรีทรัม นิโคตินเป็นต้นขึ้นมาทดแทน แต่สาร เหล่านี้ยังมีราคาสูงอยู่มากเมื่อเทียบกับสารฆ่าแมลงที่มีใช้ อยู่เดิม จึงไม่เป็นที่นิยม
        สำหรับประเทศไทยได้มีการศึกษาสารฆ่าแมลงจากธรรมชาติและวิธีการเตรียมสารฆ่าแมลงเหล่านั้น เพื่อ ลดต้นทุนในการผลิต ในขณะเดียวกันก็มีฤทธิ์ฆ่าแมลงมากพอสมควร มีพิษน้อยต่อคน สัตว์อื่นๆ และ สิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันพืชที่ได้รับความสนใจ เพื่อนำมาใช้เตรียมยาฆ่าแมลงมักเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ ในท้องถิ่นนั้นๆ และ ให้ผลผลิตสูง เช่น สะเดา กระเทียม มะเขือเทศ พริก เป็นต้น    กรรมวิธีการผลิตยา ฆ่าแมลง ที่ได้รวบรวม เพื่อนำเสนอ เหล่านี้เป็นกรรมวิธีการผลิตสารฆ่าแมลงที่สามารถทำได้ง่าย ราคาถูก สามารถนำไปพัฒนาใช้กับเรือกสวน ไร่นา หรือใช้เองภายในครัวเรือน

                 สะเดา สะเดาเป็นพืชที่มีขึ้นอยู่มากมายในประเทศไทย ซึ่งนอกจากจะใช้รับประทาน เป็นอาหารแล้ว ลำต้นยังใช้ทำฟืน หรือใช้เป็นไม้สำหรับก่อสร้างที่ทนต่อปลวก น้ำมัน ที่ได้จากการหีบเมล็ด นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ หรือใช้ทำสบู่ กากของเมล็ดใช้ทำปุ๋ย หรืออาหารสัตว์ เป็นต้น ส่วนของสะเดาที่นำมาใช้ในการเตรียมสารฆ่าแมลงสามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่เป็นเมล็ดและส่วนที่เป็นใบ สาร ฆ่าแมลงที่สกัดจากสะเดาใช้ได้ทั้งเป็นสารฆ่าแมลง และสารไล่แมลง สำหรับหนอน และแมลงทั้งระยะที่ เป็น ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จากการศึกษาพบว่า ส่วนของเมล็ดสามารถนำมาสกัดใช้เป็น สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิ ภาพดีกว่า ส่วน ที่สกัดได้จากใบ แต่การใช้ส่วนที่เป็นใบมีข้อดีกว่าการใช้เมล็ด ตรงสามารถเตรียม ใช้ได้ ตลอดทั้งปี ในขณะที่ส่วน ที่เป็นเมล็ดเก็บใช้ได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น

       1 วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากเมล็ดสะเดา
      1.1 นำผลสะเดาสุกตามจำนวนที่ต้องการมาล้างน้ำ ล้างขัดส่วนที่เป็นเนื้อออก เหลือแต่เม็ด
       1.2 นำเมล็ดที่บ้างสะอาดแล้วไปผึ่งแดดประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้เมล็ดแห้งทั่วถึงกัน
       1.3 เก็บเมล็ดสะเดาแห้งใส่ภาชนะที่ไม่อับอากาศในห้องที่มีอุณหภูมิปกติและไม่ใช่ห้องมืด        สามารถเก็บไว ้ ได้จนกว่าต้องการใช้
     1.4 เตรียมน้ำสะอาดสำหรับเตรียมยาฆ่าแมลงตามจำนวนที่ต้องการ
 นำเมล็ดสะเดาที่สะอาดปราศจากฝุ่นผง เชื้อรา มาตำหรือบดให้ละเอียดผสมกับน้ำในอัตราส่วน
เมล็ดสะเดาบด 50 กรัม (หรือครึ่งขีด) ต่อน้ำ 1 ลิตร เมื่อผสมแล้วคนให้เข้ากัน ปิดฝาทิ้งค้างคืนไว้ ๑ คืน ปล่อยให้เม็ดสะเดานอนก้นแล้วจึงกรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้น้ำสะเดาที่สกัดได้ฉีดพ่น ให้โดนตัวหนอนหรือ แมลงโดยตรง หนอนจะตายภายใน 24 ชั่วโมง
       2 วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากใบสะเดา
            2.1 เก็บใบสะเดาสด 1 กิโลกรัม ล้างให้สะอาด
            2.2โขลกให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำ 5 ลิตร ทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืน กรองใบสะเดาออก ก่อนนำ ไปใช้งาน


               กระเทียม เป็นพืชที่ปลูกได้ทั้งในเขตอบอุ่น เขตร้อน หรือกึ่งร้อนปลูกได้ง่ายในสวนครัว ในไร่ การปลูกเพื่อใช้เป็นสารฆ่าแมลงไม่ควรใส่ปุ๋ย นิยมปลุกต้นกระเทียมรอบๆ สวนผลไม้เพื่อขับไล่แมลง หนูที่จะเข้าทำลายพืช กระเทียมมีสารกำจัดศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน แมลงกินใบ แมลงผีเสื้อ หนอนเจาะ รวมไปถึงราน้ำค้าง ราแป้งขาว ราสนิมถั่ว เป็นต้น วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากกระเทียม
                                    1. โขลกกระเทียม 0.5 กิโลกรัมเป็นชิ้นเล็กๆ แช่ในน้ำมันก๊าด หรือ น้ำมันเบนซิน ปริมาตร 80 ช้อนชา ทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง
                                    2. นำสบู่ปริมาณเล็กน้อยละลายน้ำ แล้วเติมลงในสารละลายในข้อ ๒.๑ ผสมให้เข้ากัน แล้วกรองแต่ส่วนใสมาใช้
                                    3. ก่อนนำสารฆ่าแมลงที่เตรียมได้ ไปฉีดพ่นฆ่าแมลง จะผสมน้ำเพิ่มอีก 20 เท่า (หรือประมาณ 2.5 ปี๊ป) การฉีดพ่นน้ำกระเทียมควรกระทำในเวลาเช้าตรู่เพราะ หากฉีดพ่นในเวลาสาย แสงแดดจะทำให้น้ำยาระเหยเร็ว หากพ่นยาแล้วแมลงศัตรูพืชยังมีชีวิตอยู่ให้ฉีดพ่นซ้ำอีกครั้ง น้ำยาที่ผสมแล้วมีฤทธิ์อยู่ได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ และเพื่อให้น้ำยาออกฤทธิ์มากขึ้นอาจเติมพริกไทป่น หรือหัวหอมลงในส่วนผสมก็ได้

                   มะเขือเทศ เป็นพืชล้มลุกมีสารชื่อโทมาทีน มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและ แบคทีเรียบางชนิด ที่เป็นสาเหตุทั้งโรคพืช และโรคในคน สำหรับแมลงศัตรูพืชที่มะเขือเทศ มีผลในการ ป้องกัน และกำจัดคือ ด้วงหน่อไม้ฝรั่ง หนอนผีเสื้อ หนอนผีเสื้อกะหล่ำ หนอนเจาะลำต้น ไรแดง แมลงวัน และแมลงสาบ
                      1. วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากใบมะเขือเทศสด ฉีกใบมะเขือเทศสดหนัก 2 กรัม แช่ในน้ำร้อนประมาณ 5 ลิตร ทิ้งไว้นาน ประมาณ 5 ชั่วโมง กรองแล้วนำไปฉีด ใช้ได้ดีกับหนอนผีเสื้อกะหล่ำ ควรฉีดทุกๆ 2 วัน
                      2. วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากใบมะเขือเทศแห้ง นำใบมะเขือเทศแห้งหนัก 20 กรัม ต้มในน้ำ 1 ลิตรจนเปื่อยคล้ายน้ำเชื่อม ทิ้งให้เย็น นำไปทาลำต้น หรือ กิ่งเพื่อป้องกันแมลง
                      3. วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากลำต้น ใบ ผล ใช้ลำต้น ใบ ผลตำให้ละเอียด ผสมขี้เถ้าเติมน้ำเล็กน้อย กรอง ก่อนนำไปฉีดพ่น


                   พริก เป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในเขตร้อนหรือกึ่งร้อน     ส่วนของพริกที่มีคุณสมบัติในการ ฆ่าแมลงคือส่วนของผลสุก พริกมีสารที่ให้แตกต่างกันคือ ส่วนของผิว และเมล็ดมีสารฆ่าเชื้อรามาก สำหรับใบ และดอกมีสารยับยั้งการขยายตัว ของเชื้อไวรัส ศัตรูพืชที่พริกมีผลในการป้องกันและกำจัด ได้แก่ด้วงงวงข้าว เพลี้ยอ่อน หนอนหลายๆ ชนิด วิธีการเตรียมยาฆ่าแมลงจากพริก โขลกพริกหนัก 100 กรัม ให้ละเอียด ละลายน้ำคนแรงๆ ประมาณ 10 นาทีแล้วกรองเอาแต่น้ำใส เติมสบู่เล็กน้อย สารละลายที่ได้ หากเข้มข้น เกินไป จะทำให้ใบไหม้ จึงควรทดลองฉีดพ่นในกระถางก่อน การใช้ยาฆ่าแมลง จากสมุนไพรธรรมชาติ เหล่านี้ หากไม่มีเครื่องมือ สำหรับฉีดพ่น อาจใช้บัวรดน้ำ ควรใส่ยาทั้งด้านบน และล่างของใบให้ทั่ว และ ละเว้นการพ่น ยาฆ่าแมลงระหว่างเวลา 1000 ถึง 1500 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่แดดจัด อาจทำให้ใบไหม้ ได้ ผู้ทำการพ่นยา ควรอยู่เหนือลม ใส่ถุงมือ และมีผ้าปิดจมูก ล้างมือให้สะอาด     หลังการฉีดยาฆ่าแมลง กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ที่ได้นำเสนอทั้งวิธีการเตรียมสารฆ่าแมลงจากธรรมชาติ วิธีการใช้อย่างถูกวิธี เพื่อให้การใช้สารฆ่าแมลงที่เตรียมได้ มีประสิทธิภาพสูง ในการกำจัดแมลง     เพื่อลด อันตรายจากสารเคมีที่ปนเปื้อนต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค สัตว์เลี้ยง ตลอดจนสิ่งแวดล้อมในบริเวณ ใกล้เคียงกับที่ฉีด พ่นยา เช่น แหล่งน้ำ ดิน และแมลงที่ช่วยในการผสมเกสร เป็นต้น จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจ และนำไป ใช้ประโยชน์ต่อผลผลิต อย่างน้อยในครัวเรือนได้ต่อไป

1 ความคิดเห็น :

Translate

Popular Posts