Home » » เทคนิคการปลูกองุ่น

เทคนิคการปลูกองุ่น

เทคนิคการปลูกองุ่น

แผนการปฏิบัติงานเพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ
สําหรับสวนองุ่นตั้งแต่การเริ่มปลูก-การทำผลผลิตคุณภาพ

1.  การเตรียมหลุมปลูก

เมื่อเตรียมดินจนอยู่ในสภาพดีและจึงขุดหลุมปลูก โดยหลุมปลูกมีขนาด กว้าง-ยาว-ลึก 50-100 เซนติเมตรแล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์และสภาพของดิน ถ้าดินดีร่วนซุยหลุมก็ขุดขนาดเล็กได้ ถ้าสภาพดินไม่ดีขาดธาตุอาหารต่าง ๆ ก็ควรขุดหลุมปลูกให้โตเพื่อจะได้ปรับปรุงสภาพดินในหลุมปลูกให้ดีขึ้น ดินที่ขุดขึ้นมา ให้แยกเป็นสองกองคือ   ดินชั้นบนกองหนึ่ง ดินชั้นล่างอีกกองหนึ่ง ตากดินให้แห้งแล้วผสมดินด้วย วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA  “ตรายักษ์เขียว” สูตรเข้มข้นพิเศษ (แถบทอง) อัตรา กิโลกรัมต่อหลุม แล้วจึงกลบลงในหลุมตามเดิม โดยเอาดินชั้นบนกลบลงก้นหลุมและดินชั้นล่างกลบไวดานบนเสร็จแล้วรดน้ำให้ดินยุบตัวเสียก่อนจึงลงมือปลูก   การปลูกแบบที่ดอนนี้ การขุดหลุมปลูกให้ขุดเป็นแนวเส้นตรงไปตลอดแนวความยาวของพื้นที่ระยะระหว่างหลุม 3.00-3.50 เมตร และระยะระหว่างแถวให้เว้นห่างพอสมควร เพื่อความสะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงานต่างๆ คือประมาณ 4.00-5.00 เมตร

2.  วิธีปลูก

เมื่อเตรียมหลุมปลูกเสร็จแล้วทำหลุมเล็ก ๆ  ในหลุมนั้น นำกิ่งลงปลูก กลบดินโดยรอบให้แน่น  รดน้ำให้ชุ่ม ปักไม้รวกติดๆ ต้น ผูกกิ่งองุ่นกับหลักไม้รวกให้แน่น หลังจากปลูก ถ้าฝนไม่ตกให้รดน้ำทุกวันและใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 100 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร รดบริเวณรอบหลุมที่ปลูกพอเปียก ทุก ๆ เดือน เดือนละครั้ง จะทำให้ต้นองุ่นฟื้นตัวเร็ว และช่วยปรับสภาพดินได้รวดเร็ว(โดยเฉพาะในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ) ทำให้องุ่นแตกรากอ่อนได้ดี เจริญเติบโตดี ไว้ผลได้เร็วขึ้น และช่วยป้องกันแมลงศัตรูเข้าทำลาย  ช่วงที่มีฝนตกค่อนข้างหรือในฤดูฝน ควรฉีดยาป้องกันโรคและเชื้อราเป็นครั้งคราว
3.  การแต่งทรงต้น
การปลูกต้นองุ่นนั้นควรมีไม้รวกปักขนาบกับกิ่ง และคอยผูกเชือกให้ต้นแนบไม้อยู่ตลอดเวลา  ทั้งนี้เพื่อบังคับให้ต้นตั้งตรง เมื่อต้นองุ่นเติบโตจนยอดสูงถึงระดับค้างหรือเสมอระดับลวดที่ขึงไว้ จึงทำการแต่งทรงต้น วิธีทำ คือ เด็ดยอดองุ่นที่สูงกว่าระดับลวด หลังจากนั้นต้นองุ่นจะแตกตาออกมา ตา  ตรงข้ามกัน ซึ่งจะเอาไว้ทั้ง กิ่ง หรือกิ่งเดียวก็ได้ ถ้าเอาไว้สองกิ่งให้จัดกิ่งทั้งสองอยู่ตรงข้ามกัน การไว้  กิ่ง มักพบปัญหาว่า กิ่งทั้งสองเติบโตไม่เท่ากัน ทำให้การกระจายของผลไม่สม่ำเสมอกัน จึงมักนิยมไว้กิ่งเพียงกิ่งเดียว คือ หลังจากที่เด็ดออก กิ่งที่คงไว้ทุกต้นให้จัดกิ่งให้หันไปทางเดียวกันคือหันไปทางหัวแปลงหรือทางทายแปลงในทิศทางเดียวกันเหมือนๆ กัน ทุกต้น ซึ่งเมื่อต้นเติบโตเต็มที่ กิ่งของต้นหนึ่งจะไปจรดโคนกิ่งของต้นถัดไปพอดี หรือเกยทับกันบ้าง  หลังจากที่จัดกิ่งให้หันไปในทิศที่ต้องการแล้ว พอกิ่งนั้นยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ให้เด็ดยอดออกกิ่งจะแตกตาใหม่ เติบโตเป็นกิ่งใหม่ กิ่ง ให้คงเหลือไว้ทั้งสองกิ่ง และเมื่อกิ่งใหม่ยาวประมาณ  50 เซนติเมตร ก็เด็ดยอดอีก และเหลือไว้ทั้ง กิ่งเช่นเดียวกัน ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกิ่งองุ่นเต็มค้างจึงหยุดการตัดยอด   ในระหว่างที่เด็ดยอดให้กิ่งแตกใหม่นั้น จะต้องจัดกิ่งให้กระจายให้เต็มค้างอย่างทั่วถึง อย่าให้ทับกันหรือซ้อนกันมาก จัดให้กิ่งอยู่บนค้างเสมอ อย่าให้กิ่งตั้งชี้ฟ้า หรือห้อยย้อยลง  ซึ่งเมื่อทำได้เช่นนี้แล้ว  การดูแลรักษา และตัดแต่งกิ่งในครั้งต่อ ๆ  ไป จะทำได้สะดวก

การดูแลบำรุงรักษาองุ่นในช่วงต่าง ๆ


ระยะตั้งแต่ปลูก - ช่วงแต่งทรงต้น (ระยะ เลี้ยงเถา ตั้งแต่เริ่มปลูก 1 - 6 เดือนแรก)
  1. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าขาดน้ำต้นองุ่นจะชะงักการเติบโต ไม่สมบูรณ์แข็งแรง ทำให้ขึ้นค้างได้ช้า ถ้าฝนไม่ตก ควรรดน้ำให้ทุกวัน
  2. ปุ๋ยทางดิน  ใส่ วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAA ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม สลับกับการใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7  อัตรา 200-300 กรัมต่อต้น(1-2 กำมือ)  ใส่สลับกันทุก ๆ 30 - 45 วัน  เพื่อให้ต้นองุ่นสมบูรณ์แข็งแรง  ดูดซึมปุ๋ยได้ดี โดยการใส่ครั้งแรกมักใส่หลังจากปลูกได้ 1 เดือน วิธีใส่ให้หว่านปุ๋ยรอบ ๆ ต้น พร้อมพรวนดินรอบ ๆ ต้นบาง ๆ อย่างระมัดระวัง เพราะรากองุ่นส่วนใหญ่จะอยู่ตื้น ๆ  และเมื่อพรวนดินแล้ว หรือหว่านปุ๋ยแล้วควรรดน้ำทันทีให้ปุ๋ยละลายซึมลงในดิน และอย่ารดจนโชกจนน้ำไหลออกจากแปลง จะชะพาปุ๋ยออกไปจากแปลงหมด
  3. ปุ๋ยทางใบ  ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซี ร่วมกับการใช้ อาหารเสริมรวมสูตรคีเลท คีเลท อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 14-21 วัน จะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ช่วยต้านทานโรคและแมลงเข้าทำลาย  และในช่วงฤดูฝน ควรฉีดพ่นยาป้องกันโรคและเชื้อรา เป็นช่วง ๆ  เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

ระยะหลังปลูกต้นอายุ 6-12 เดือน

  1.  ปุ๋ยทางดิน  ใส วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAA ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา กิโลกรัม ร่วมกับการใช้ปุ๋ยสูตร 25-7-7  หรือสูตรเสมอ 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา 300-500 กรัมต่อต้น(2-3 กำมือ)  ใส่สลับกันทุก ๆ 30 - 45 วัน วิธีใส่ก็แบบเดียวกัน  แต่หว่านให้วงกว้างขึ้น เพื่อดึงดูดให้รากกระจายตัวเพื่อหาอาหาร
  2. ปุ๋ยทางใบ  ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซี ร่วมกับการใช้ อาหารเสริมรวมสูตรคีเลท คีเลท อัตรา 5-10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 14-21 วัน เป็นระยะตามคำแนะนำ จะทำให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี ป้องกันแมลงเข้าทำลาย
ระยะก่อนการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้เกิดดอกเกิดผล ประมาณ 7-10 วัน
ปุ๋ยทางดิน ใส่ปุ๋ยเร่งการแตกตาแตกกิ่งอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ประมาณ 1-2 กำมือ ต่อต้น หว่านปุ๋ยให้ทั่วแปลงรดน้ำให้ชุม 1-2 ครั้ง เพื่อให้เม็ดปุ๋ยละลายดี หลังจากนั้นจะไม่รดน้ำอีกเลยจนกว่าจะตัดแต่งกิ่งเสร็จ
ปุ๋ยทางใบ ใช้ปุ๋ยเกร็ด 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้งเว้นระยะห่าง 7-10 วัน เพื่อเร่งใบแก่และสะสมอาหาร หลังฉีดพ่นครั้งสุดท้ายแล้ว จึงเริ่มเว้นน้ำและตัดแต่งกิ่ง(พรุนใบ)

การตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ออกดอก

ต้นองุ่นที่นำมาปลูกในบ้านเรานั้น ถ้าไม่ตัดแต่งแล้วจะไม่ออกดอกหรือออกเพียงเล็กน้อย ให้ผลที่ไม่สมบูรณ์ การจะให้องุ่นออกดอกได้ต้องตัดแตงกิ่งหลังจากที่ให้ต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่แล้ว อายุการตัดแต่งให้ออกดอกครั้งแรก หรือมีดแรก ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น อายุของต้น และพันธุ์ เป็นหลัก  เช่น
-      องุ่นพันธุ์ คาร์ดินาล ตัดแต่งได้เมื่ออายุ 9-10 เดือน หลังจากปลูกในแปลงจริง
-      องุ่นพันธุ์ไวท์มาละกา ตัดแต่งได้เมื่ออายุ 11-12 เดือน หลังจากปลูกในแปลงจริง
กิ่งที่จะตัดแต่งเพื่อให้ออกดอก จะต้องเป็นกิ่งที่แก่จัด กิ่งเป็นสีน้ำตาล ใบแก่จัด ดังนั้นก่อนการตัดแต่งจะต้องใส่และฉีดพ่นปุ๋ยสะสมอาหาร หลังจากนั้นงดให้น้ำ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ต้นองุ่นพักตัวอย่างเต็มที่ การตัดแต่งให้ใช้กรรไกรตัดกิ่งให้สั้นลง ความยาวของกิ่งที่เหลือขึ้นอยู่กับพันธุ์องุ่นด้วย  เช่น
  1. พันธุ์คาร์ดินาล ให้ตัดสั้นเหลือเพียง 3-4 ตา
  2. พันธุ์ไว้ท์มาละกา ให้ตัดสั้นเหลือ 5-6 ตา
  3. พันธุ์ลูสเพอเรส ตัดให้สั้นเหลือ 7-12 ตา
กิ่งที่ตัดออกให้รีบนำออกจากแปลงปลูก ไปเผาทิ้งหรือฝังเสีย อย่าปล่อยทิ้งไว้ใต้ต้น จะเป็นที่อยู่อาศัยของโรคแมลงต่าง ๆ ที่จะเข้าทำลายองุ่นได้  เมื่อตัดแต่งกิ่งจนหมดทั้งแปลงแล้ว จึงให้น้ำแก่ต้นองุ่น และให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร  ทุก ๆ 5-7 วัน(ประมาณ ครั้ง) องุ่นจะเริ่มแตกกิ่งใหม่ จะได้ช่อดอกที่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์การติดผลสูง

 

การปฏิบัติและดูแลรักษาผลผลิตองุ่น

 1. การตบแต่งกิ่งและการจัดกิ่ง
หลังการตัดแต่งกิ่ง องุ่นจะแตกกิ่งใหม่ออกมามากมาย มีทั้งกิ่งที่มีช่อดอก กิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียวและกิ่งแขนงเล็กๆ อีกมากมาย พวกกิ่งแขนงเล็กให้เด็ดออกให้หมดเหลือไว้เฉพาะกิ่งที่มีช่อดอก และกิ่งที่มีแต่ใบอย่างเดียวที่เป็นกิ่งขนาดใหญ่เท่านั้น นอกจากนี้ใบที่อยู่โคนๆ กิ่งก็ให้เด็ดออกด้วย เพื่อให้โปร่งไม่ทึบเกินไปเมื่อตบแต่งกิ่งแล้ว และเห็นว่ากิ่งยาวพอสมควร ให้จัดให้กิ่งอยู่บนค้างอย่างเป็นระเบียบกระจายกันอยู่เต็มค้าง ไม่ทับซ้อนกัน หรือก่ายกันไปมา เพราะกิ่งที่แตกออกมาใหม่จะแตกออกทุกทิศทุกทางเกะกะไปหมด วิธีจัดกิ่งคือ โน้มกิ่งให้มาพาดอยู่บนลวด แล้วผูกมัดด้วยเชือกกล้วย หรือใบกล้วย แห้งที่ฉีดเป็นริ้ว ๆ ไม่ให้มีกิ่งที่ชี้ขึ้นมาด้านบน หรือห้อยย้อยลงข้างล่าง เพราะจะไม่สะดวกในการปฏิบัติงานเวลาจัดกิ่งต้องระมัดระวังอย่าให้กระทบกระเทือนช่อดอก เพราะจะฉีกขาดเสียหายได้ง่าย พยายามจัดให้ช่อดอกห้อยลงใต้ค้างเสมอ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ  ในสวน

2. การปลิดช่อ
หลังจากจัดกิ่งเรียบร้อยแล้ว ช่อดอกจะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งต้นองุ่นอาจให้ช่อดอกมากเกินไป  ถ้าปล่อยไว้ทั้งหมด ต้นจะเลี้ยงไม่ไหว ทำให้ต้นโทรมเร็ว คุณภาพของผลไม่ดีเท่าที่ควร ฉะนั้นถ้าเห็นว่ามีช่อดอกมากเกินไปให้ปลิดออกเสียบ้าง การปลิดช่ออาจทำตั้งแต่กำลังเป็นดอกอยู่ก็ได้ แต่ไม่ค่อยนิยมเพราะไม่แน่ว่าช่อที่เหลือจะติดผลดีหรือไม่ ทางที่ดีควรปลิดช่อที่ติดเป็นผลเล็กๆ แล้ว โดยเลือกปลิดช่อที่เห็นว่ามีขนาดเล็กรูปทรงของช่อไม่สวย ติดผลไม่สม่ำเสมอ มีแมลงทำลาย เป็นต้น และให้ช่อดี ๆ ที่เหลือไว้กระจายอยู่ทั่วทุกกิ่งอย่างสม่ำเสมอ ไม่มากหรือน้อยที่ด้านใดด้านหนึ่งของต้น

3. การปลิดผล
องุ่นที่ปลูกกันอยู่ปัจจุบันในบ้านเรามักติดผลแน่นมาก ถ้าไม่ช่วยปลิดผลออกเสียบ้าง ผลในช่อจะแน่นเกินไป ทำให้ผลที่ได้มีขนาดเล็ก ๆ คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร หรือเบียดเสียดกันจนผลบิดเบี้ยวทำให้ดูไม่สวยงาม ไม่ชวนซื้อ จำเป็นต้องช่วยปลิดผลในช่อออกบ้างให้เหลือพอดีๆ ไม่แน่นเกินไปหรือโปร่งเกินไป การปลิดผลออกจากช่อมักทำ 1-2 ครั้ง เมื่อผลโตพอสมควร ผลองุ่นอ่อนที่ตัดออกมาเอาไปดองไว้ขายได้ วิธีปลิดผลให้ใช้กรรไกรขนาดเล็กสอดเข้าไปตัดที่ขั้วผล อย่าใช้มือเด็ดหรือดึง เพราะจะทำให้ช่อผลช้ำเสียหาย ฉีกขาด และมีส่วนของเนื้อผลผลิตอยู่ที่ขั้ว ทำให้โรคเข้าทำลายได้ง่าย
ข้อควรระวัง เมื่อองุ่นติดผลแล้ว ผู้ที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในสวนต้องสวมหมวกหรือโพกศีรษะเสมออย่าให้เส้นผมไปโดนผลองุ่น จะทำให้ผลองุ่นเน่าเสียหายได้

4.  การใช้ฮอร์โมนยืดช่อ
          สารฮอร์โมนที่ใช้ในการยืดช่อผลขยายขนาดของผล คือสาร จิบเบอร์เรลลิน” ซึ่งมีขายในท้องตลาดในชื่อต่าง ๆ กัน การใช้สารนี้ในแต่ละแห่งถ้ายังไม่เคยใช้ ควรใช้ทดลองในจำนวนน้อยก่อนป้องกันการเสียหายอัตราที่เคยทดลองได้ผลดีในองุ่นพันธุ์ไวท์มาละกาและพันธุ์ลูสเพอร์เลส คือ 50 พีพีเอ็ม(หมายถึงมีตัวยา 50 ส่วนในน้ำ 1 ล้านส่วนหรือทดลองใช้ในอัตราที่กำหนดไว้ในฉลาก ขณะเดียวกันอาจทดลองใช้ในอัตราที่มากกว่าและน้อยกว่าที่กำหนดไว้ กับองุ่นจำนวนไม่มากนัก เพื่อเปรียบเทียบกันว่าอัตราใดจะเหมาะสมที่สุดในแปลงปลูกของเรา  การใช้ฮอร์โมนมักใช้ 1-2 ครั้ง คือครั้งแรกหลังจากดอกบาน 3-7 วัน (ดอกบาน หมายถึงดอกบาน 80 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด โดยดอกองุ่นจะบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ เมื่อเห็นว่าดอกบานไปจนเกือบจะสุดปลายช่อ หรือประมาณใน ของความยาวของช่อส่วนครั้งที่ อาจให้
หลังจากครั้งแรกประมาณ วัน
วิธีใช้  การใช้สารฮอร์โมนนี้ อาจใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ช่อดอก ช่อผล ซึ่งแม้จะโดนใบก็ไม่มีผลแต่อย่างไรแต่วิธีนี้จะสิ้นเปลืองน้ำยามาก และอาจโดนช่อองุ่นไม่ทั่วถึงทั้งช่อ วิธีที่นิยมกัน คือ  วิธีชุบช่อดอก ช่อผล ซึ่งประหยัดน้ำยาได้มากกว่า วิธีการก็ทำง่ายๆ แต่อาจเสียแรงงานมากกว่า อุปกรณ์ง่ายๆ สำหรับการชุบฮอร์โมน คือ หาถุงพลาสติกขนาดโตพอที่จะสวมช่อองุ่นได้มา  ใบ ใบที่หนึ่งใส่น้ำธรรมดาลงไปประมาณ ครึ่งถุง เอาถุงใบที่มีฮอร์โมนสวมลงไปในถุงใบที่มีน้ำ จัดปากถุงให้เสมอกัน แล้วพับตลบปากถุงให้กว้าง แล้วสวมเข้าไปที่ช่อองุ่น บีบฝ่ามือน้ำยาก็จะทะลักขึ้นมาด้านบนทำให้เปียกทั้งช่อแล้วเปลี่ยนไปชุบช่อต่อ ๆ ไป เวลาที่ใช้ในการชุบช่อแต่ละช่อเพียงอึดใจเดียว คือเมื่อบีบถุงน้ำยาทะลักขึ้นไปโดนช่อแล้วก็คลายมือที่บีบแล้วนำถุงน้ำยาออกทันที  เมื่อชุบช่อไปได้สักพักน้ำยาในถุงจะพร่องลงก็เติมลงไปใหม่ให้ได้ระดับเดิม คือ ประมาณครึ่งถุงตลอดเวลา

ข้อที่ควรระวังของการใช้  ฮอร์โมนแบบชุบช่อนี้ก็คือ เป็นโอกาสทำให้โรคต่าง ๆ   ที่ช่อระบาดจากช่อหนึ่งไปยังช่ออื่น ๆ  ได้ง่าย ถ้าเป็นช่วงที่โรคกำลังระบาดอยู่ควรเติมยากันราลงไปในน้ำยาฮอร์โมนนั้นด้วย

                                    
5.  สรุปการให้ปุ๋ยและอาหารเสริมในแต่ละช่วง
หลังเก็บเกี่ยว 
ทางดิน  ใส่ วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAA ยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 1 กิโลกรัม เพื่อฟื้นฟูต้นและปรับสภาพดินให้ดี
          ทางใบ ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30 ซีซี อาหารเสริมรวม "คีเลท" อัตรา 5 กรัม /น้ำ 20 ลิตร ทุก  10-15  วัน(ประมาณ 5 ครั้ง) เพื่อบำรุงต้น กระตุ้นให้ต้นองุ่นสมบูรณ์ พร้อมที่จะทำผลผลิตในชุดต่อไปได้เร็ว
ก่อนตัดแต่งกิ่งเพื่อทำช่อดอก(ก่อนพรุน) 
          ทางใบ ก่อนตัดแต่งประมาณ 30 วัน  ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบสูตร 0-52-34 อัตรา 40-50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร   ทุก ๆ 7 วัน ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อเร่งใบและกิ่งองุ่นให้แก่เสมอกัน(กิ่งเป็นสีน้ำตาล) และทำให้องุ่นสะสมอาหารที่ตา
หลังตัดแต่งกิ่ง(หลังพรุน)
ทางใบ  ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก  5-7  วัน(ประมาณ3-4 ครั้ง) อาหารเสริมรวม "คีเลท" อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก  7-14  วัน  เพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้ดอกสมบูรณ์ ติดผลมาก ขั้วเหนียว ไม่ร่วง ทนต่อสภาพอากาศและแสงแดด

เมื่อติดผลขนาดเท่าหัวไม้ขีด-เก็บเกี่ยว

ทางดิน  ใส่ปุ๋ยสูตรที่เน้นตัวหน้าและหลัง เช่น 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง วัสดุปรับปรุงดิน เกรดAAAยักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตราส่วน 1:1   หว่านตามแนวขนานต้น ต้นละ 2-3 กำมือ เดือนละ 1 ครั้ง หรือ ทุก ๆ 20 วัน
ทางใบ    ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรเร่งขนาดผล) อัตรา 50 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก  7-14 วัน อาหารเสริมรวม "คีเลท" อัตรา 5 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก  7-14  วัน
ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 30-45 วัน ให้ฉีดพ่น ปุ๋ยสูตร 13-0-46 อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร + แคล-แม็ก(แคลเซียมโบรอน) อัตรา 10-15 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10 วัน
การใส่ปุ๋ยอื่น ๆ เพื่อปรับสภาพดิน
    1. หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ ให้ใช้ สารปรับสภาพดิน ไดนาไมท์ อัตรา 500 ซีซีต่อไร่ ให้ไปกับน้ำ เพื่อลดความเป็นกรดในดิน ทำให้ดินมีสภาพกรด-ด่าง เหมาะสมกับรากขององุ่น

6. การให้น้ำ
หลังจากการตัดแต่งแล้วต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ อย่าให้ดินแห้งได้ โดยเฉพาะช่วงตัดแต่งใหม่ๆ  ต้นองุ่นจะไม่มีใบเหลืออยู่เลย แดดจะส่องถึงโคนต้นโดยตรงทำให้ดินแห้งเร็ว ในช่วงนี้ ถ้าฝนไม่ตกต้องรดน้ำให้ทุกวัน หลังจากที่องุ่นเริ่มแตกใบหนาแน่นขึ้น การให้น้ำก็ห่างออกไปได้ โดยให้สังเกตจากดินในแปลงอย่าให้ดินแห้งมากเป็นใช้ได้ การให้น้ำจึงเป็นงานประจำที่ต้องทำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ จนถึงระยะผลที่จะแก่จึงงดให้น้ำ(ประมาณ 3-4 วันก่อนเก็บ) เพื่อผลองุ่นที่ได้จะมีคุณภาพดี ไม่เน่าเสียเร็ว และเก็บไว้ได้นาน
7. การเก็บผลองุ่น
การเก็บผลองุ่นเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกอันหนึ่ง ทั้งนี้เพราะองุ่นเป็นผลไม้ที่เรียกว่า บ่มไม่ได้  กล่าวคือ เมื่อเก็บมาจากต้นเป็นอย่างไร ก็จะยังคงสภาพอยู่เช่นนั้น ไม่หวานขึ้นอีก ไม่สุกมากขึ้นอีกแล้ว  การเก็บผลองุ่นจึงต้องเก็บในช่วงที่เหมาะสม ผลแก่เต็มที่ และไม่แก่เกินไป ผลองุ่นที่ยังไม่แก่เต็มที่จะมีรสเปรี้ยว ฝาด คุณภาพ ของผลไม่ดี สีไม่สวย สวนผลองุ่นที่แก่เกินไปจะหวานจัดเกินไป เน่าง่าย เก็บไว้ไม่ได้นาน ผลหลุดร่วงง่าย 
8. การพักตัวของต้นองุ่น
หลังจากที่เก็บผลองุ่นจนหมดแล้ว จะต้องปล่อยให้ต้นองุ่นพักตัว และให้ปุ๋ยบำรุงต้นระยะเวลาหนึ่ง ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้ต้นองุ่นรับธาตุอาหารและสะสมไว้ในต้น เพื่อให้ดอกให้ผลในครั้งต่อไป ช่วงที่ให้ต้นองุ่นพักตัวนี้ นับว่าเป็นช่วงที่สำคัญอีกช่วงหนึ่ง มีผลต่อการให้ดอกให้ผลในคราวต่อไปมาก ถ้าระยะพักตัวสั้นและไม่ได้บำรุงปุ๋ยให้กับต้นตามที่แนะนำ เพื่อฟื้นฟูสภาพจากการแบกผลผลิต  ก็จะทำให้ผลผลิตในคราวต่อไปก็จะน้อยลง ต้นจะทรุดโทรมเร็ว ให้ผลผลิตได้ไม่นานต้นก็จะโทรมและตาย  สำหรับระยะเวลาในการพักตัวก็แตกต่างกันออกไปตามพันธุ์ เช่น พันธุ์ไวท์มาละกา พันธุ์ลูสเพอรเลส ควรให้พักตัว 1-2 เดือน ส่วนพันธุ์คาร์ดินาล ให้พักตัวน้อยกว่านี้ได้ แต่ไม่ควรต่ำกว่า 20 วัน  

ข้อเปรียบเทียบหลังจากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำเป็นประจำ 
1.    องุ่นจะบังคับดอกง่าย ขั้วดอก,ผล เหนียว ต้นไม่โทรมแม้แบกผลผลิตมาก อายุการให้ผลผลิตจะมากกว่าแปลงที่ไม่ได้ใช้อย่างเห็นได้ชัด เมื่อใช้เป็นประจำ (3-4 ครั้งขึ้นไป) จะสังเกตได้ว่าแมลงศัตรูพืชที่เข้ามารบกวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะจำพวกผีเสื้อกลางคืนซึ่งเป็นตัวแม่ของหนอนชนิดต่าง ๆ รวมถึงแมลงวันทอง และด้วงกัดกินใบ  ทำให้ประหยัดต้นทุนยากำจัดศัตรูพืช และลดความเสียหายได้ดีกว่า  (ในพื้นที่ที่มีการระบาดมาก หากใช้ไบโอเฟอร์ทิล ฉีดร่วมกับยากำจัดศัตรูพืช ก็จะทำให้สามารถคุมและป้องกันการเข้าทำลาย ได้นานขึ้น)
2.    ใบพืชเงาเป็นมัน อายุใบนานขึ้นทำให้ต้นไม่สูญเสียอาหารในการสร้างใบใหม่ (ไบโอเฟอร์ทิล เป็นสารธรรมชาติ ไม่กัดผิวใบทำให้ใบด้านเหมือนการใช้เคมีอย่างเดียว)
3.    เมื่อใช้ตามคำแนะนำ  เนื้อผลมีรสชาติเข้มข้นดีกว่าแปลงที่ใช้เคมีอย่างเดียว
4.    สุขภาพผู้ปลูกดีขึ้น เนื่องจาก สัมผัสหรือจับต้องสารเคมีน้อยลง
5.    การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ยักษ์เขียว  ร่วมด้วยเป็นประจำ  จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น  ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี  ต้นทนแล้งได้ดีขึ้น  และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

แมลงศัตรูขององุ่น

1. หนอนกระทู้หอม เป็นหนอนที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ชาวสวนเรียกว่า "หนอนหนังเหนียว" ทำความเสียหายต่อทุกส่วนขององุ่นทั้งใบ ดอก ผลและยอดที่จะเจริญไปเป็นดอกและผลในฤดูถัดไป หนอนกระทู้หอมตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็กวางไข่เป็นกลุ่ม 20-80 ฟอง บริเวณด้านหลังใบ ไข่ปกคลุมด้วยขนสีขาวหนอยวัยอ่อนจะแทะผิวใบพรุนเป็นร่างแหทำให้ใบแห้งตายและเมื่อหนอนโตเต็มที่จะกัดกินใบอ่อน ช่อดอกหรือผลอ่อนขององุ่นเสียหาย
การป้องกันกำจัด
1. ใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนกระทู้หอมฉีดพ่นเมื่อพบตัวหนอนบนใบองุ่น หนอนที่มากัดกินใบจะได้รับเชื้อไวรัสทำให้เป็นโรค Grassarie one และตายภายใน 1-2 วัน
2. ใช้กับดักแสงไฟ (Black light) หรือกาวดักเหนียวเพื่อดักผีเสื้อทั้งตัวผู้ตัวเมีย ก่อนจะขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไป โดยวางไว้ในสวนองุ่นโดยเฉพาะช่วงตัดแต่งกิ่งและยอดอ่อนเริ่มแตกออกมา
3. ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ บาร์ท๊อป ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรีย บาซิลลัส ชูริงเจนซิส (Bacillus Thuringicnsis) ฉีดพ่นเมื่อพบการ ทุก ๆ 5-7 วัน(ซ้ำประมาณ 2-3 ครั้ง)
4. ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกลุ่มคาร์บาเมท เช่น เมทโธมิล 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5-7 วัน(ซ้ำประมาณ 2-3 ครั้ง)หรือสารกลุ่มยับยั้งการเจริญเติบโต เช่น ปูโพรเฟซิน 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อระงับการลอกคราบของตัวหนอนกระทู้

2. หนอนเจาะสมอฝ้าย ทำลายองุ่นโดยกัดกินส่วนดอกและเมล็ดภายในผลองุ่น ตั้งแต่ระยะติดดอกจนถึงดอกบาน จะพบช่อดอกถูกกัดกินเป็นแถบและระยะช่อผลอ่อนอายุระหว่าง 10-14 วัน หลังจากดอกบานแล้วจะเจาะกินเมล็ดภายในหมดและย้ายไปกัดกินผลอื่นต่อไปผลที่ถูกทำลายจะเป็นรู หนอน ตัว สามารถทำลายได้หลายช่อดอกโดยเฉพาะช่อดอกที่อยู่ใกล้เคียงกัน หนอนมีตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดกลาง ตัวผีเสื้อจะซ่อนอยู่ตามใบแก่ขององุ่น
การป้องกันกำจัด
1. ในระยะติดดอกและผลอ่อนควรหมั่นตรวจดูช่อองุ่น เมื่อพบหนอนหรือตัวผีเสื้อควรจับทิ้งทำลายเพื่อไม่ให้ลุกลามไปช่ออื่น
2. ใช้เชื้อไวรัส NPV ของหนอนเจาะสมอฝ้ายฉีดพ่นเช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม
3. ใช้ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ บาร์ท๊อป อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเมื่อพบการ ทุก ๆ 5-7 วัน(ซ้ำประมาณ 2-3 ครั้ง)เพื่อกำจัดเช่นเดียวกับหนอนกระทู้หอม
4. ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลเฟน เช่น พอสซ์ อัตรา 20-30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 5-7 วัน(ซ้ำประมาณ2-3 ครั้ง)

3. เพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็กใช้ปากเขี่ยดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดใบอ่อน ทำให้ยอดใบอ่อนหักงอ ใบแห้งกรอบไม่เจริญเติบโตและตายในที่สุด ถ้าทำลายระยะดอกทำให้ดอกร่วงไม่เกิดผลหรือทำให้ผลมีตำหนิ พบการระบาดตั้งแต่หลังจากตัดกิ่งจนถึงผลโตเต็มที่เนื่องจากองุ่นมีการแตกยอดตลอดทั้งปี
การป้องกันกำจัด
1. ควรหมั่นตรวจดูเพลี้ยไฟตามยอดใบอ่อน ช่อดอกหรือผลอ่อน ถ้าพบเป็นร้อยกร้านสีน้ำตาลควรรีบป้องกันกำจัดทันที
2. ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชื้นในพุ่มให้ชุ่ม จะทำให้การระบาดลดลงเพราะเพลี้ยไฟไม่ชอบความชื้นสูง
3. ใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทา แม็ก” อัตรา 50-100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน เพื่อกำจัด
4. ฉีดพ่นสารเคมีกลุ่มคาร์โบซัลแฟน เช่น พอสซ์พ่นให้ทั่วต้น ครั้งห่างกัน วัน


โรคขององุ่น
องุ่นมีโรคเกิดทำลายหลายชนิด นับตั้งแต่ต้นเล็กๆ ไปจนถึงระยะติดดอกออกผลจึงจำเป็นต้องดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด การที่องุ่นที่ปลูกในประเทศไทยมีโรคระบาดรุนแรงหลายชนิดก็เนื่องมาจากสภาพอากาศร้อนชื้น มีฝนตกชุก และมีการตัดแต่งกิ่งองุ่นให้ออกดอกติดผลตลอดปีจึงมีส่วนทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่ายเกือบตลอดปีเช่นกัน ขณะนี้ปัญหาเรื่องโรคจึงเป็นปัญหาที่สำคัญของสวนองุ่นอย่างมาก ควรดูแลระมัดระวังอย่างใกล้ชิด
เทคนิคง่าย ๆ กับการป้องกันเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุนสารกำจัดเชื้อราได้มาก  ที่แนะนำคือ 

-      การฉีดพ่นปุ๋ยหรือยาทางใบ ควรใช้ปุ๋ยหรือฮอร์โมนธรรมชาติ จะไม่กัดผิวใบเหมือนกับปุ๋ยเคมี หรือสารเคมีหรือยาก็พยายามหลีกเลี่ยงกลุ่มที่ใช้น้ำมันเป็นตัวทำละลาย(สังเกตที่สูตรยามักลงท้ายด้วย EC) หรือกลุ่มสารที่มีความเป็นกรดหรือด่างซึ่งจะกัดผิวใบ ทำให้ไขพืชที่เคลือบใบอยู่เสียหาย เชื้อโรคและแสงแดดเข้าทำลายได้ง่าย การใช้สารอาหารจากธรรมชาติที่เหมาะสม จะช่วยรักษาผิวใบ(สังเกตจากใบจะเขียวเป็นมันเงา สะท้อนแสง ไม่เขียวด้านเหมือนการใช้ปุ๋ยเคมีเร่ง) ทำให้ป้องกันโรคที่เกิดทางใบขององุ่นได้ดี
-      หากพบการระบาดของโรค ให้หยุดเว้นการให้สารอาหาร หรือปุ๋ยทางใบทุกชนิดก่อน แล้วฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อโรคราตามคำแนะนำ จนสามารถกำจัดหรือควบคุมได้ก่อน(หากพบการระบาดของโรคให้เว้นปุ๋ยทางใบประมาณ อาทิตย์)  เพราะเชื้อราโรคพืชก็สามารถกินสารอาหารเหล่านี้ได้เช่นเดียวกับใบพืช  จะทำให้การฉีดพ่นสารเพื่อกำจัดเชื้อราจะไม่ค่อยได้ผล หรือเชื้อลุกลามแก้ไม่หาย
สำหรับโรคขององุ่นที่ระบาดรุนแรงและทำความเสียหายร้ายแรง ดังนี้

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา PLasmopara viticola โรคราน้ำค้างนับว่าเป็นโรคที่สำคัญที่สุดสำหรับการปลูกองุ่นในบ้านเรา เป็นโรคที่ระบาดรุนแรงทำความเสียหาย มากระบาดได้ทั้งปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนจะระบาดอย่างรุนแรง เพราะความชื้นในอากาศมีสูง
ลักษณะอาการ โรคนี้เกิดได้กับส่วนต่างๆ ของต้นองุ่นทั้งใบ ช่อ ดอก ยอดอ่อน เถา และช่อผล อาการที่สังเกตได้คือ
          อาการบนใบองุ่น ใบที่ถูกโรคทำลายในระยะแรกจะเห็นเพียงจุดเล็กๆ สีเหลืองปนเขียวทางด้านบนของใบ ต่อมาจะขยายเป็นแผลโตขึ้นขนาดของรอยแผลไม่แน่นอน ในระยะนี้ถ้าดูด้านล่างของใบตรงที่เป็นแผลจะพบเชื้อราสีขาวอยู่เป็นกลุ่มเห็นได้ชัด ซึ่งตรงกลุ่มนี้เองจะมีส่วนขยายพันธุ์สามารถที่จะเจริญแพร่ระบาดติดต่อไปยังใบอื่นๆ หรือแปลงอื่นๆ โดยปลิวไปกับลม อาการของโรคจะสังเกตได้ก็ต่อเมื่อเชื้อราเข้าทำลายแล้ว 4-6 วัน
อาการที่ยอดอ่อน ยอดอ่อนที่ถูกโรคเข้าทำลายจะแคระแกร็น ยอดสั้น มีเชื้อราสีขาวขึ้นปกคลุมยอดเห็นได้ชัดเจน ยอดอ่อนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตายในที่สุด
อาการที่ช่อดอก ช่อดอกที่รับเชื้อจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือเป็นหย่อมๆ อีก 2-3 วัน ต่อมาจะเห็นเชื้อราสีขาวขึ้นที่ ช่อดอกเห็นได้ชัด ช่อดอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งติดเถา โดยช่อดอกอาจแห้งจากโคนช่อ ปลายช่อ หรือกลางช่อก็ได้
อาการที่ช่อผล จะเกิดกับผลอ่อน โดยครั้งแรกจะมีลักษณะเป็นจุดหรือลายทางๆ สีน้ำตาลที่ผล ผลเริ่มแห้งเปลือกผลเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเทาปนสีน้ำเงินหรือน้ำตาลแก่ ถ้าเป็นมากผลจะเหี่ยวหมดทั้งช่อ
อาการที่เถา-ที่มือเกาะ อาการที่มือเกาะหรือที่หนวดนั้นเริ่มจากมือเกาะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองปนเขียว และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแห้งติดเถา สำหรับอาการที่เถาองุ่นผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล มองเห็นเชื้อราสีขาวตรงกลางแผลได้ชัดเจนทำให้ยอดแคระแกร็น
การป้องกันกำจัด
1. ทำความสะอาดสวน อย่าให้รกรุงรัง กิ่งต่างๆ รวมทั้งใบที่ตัดออกจากต้นให้นำไปเผาทิ้งหรือฝัง อย่าปล่อยทิ้งไว้ในสวนจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค
2. หลังจากที่ต้นองุ่นแตกกิ่งใบใหม่แล้ว ควรจัดกิ่งเถาให้กระจายทั่วๆ ค้าง อย่าให้ทับซ้อนกันมากหรือทึบมาก กิ่งที่ไม่ต้องการให้ตัดแต่งออกให้โปร่ง อย่าให้กิ่งห้อยย้อยลงจากค้างให้อากาศถ่ายเทสะดวกจะช่วยลดความชื้นลง และช่วยลดการระบาดของโรค
3. การฉีดสารเคมีป้องกันกำจัด ควรทำเป็นระยะๆ ตามความเหมาะสม โดยเริ่มฉีดครั้งแรกเมื่อเริ่มแตกยอดอ่อน ครั้งที่สองเมื่อ มีใบอ่อน 3-4 ใบ สารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ดี เช่น ไดแทนเอ็ม 45 อัตรา ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร หรือโลนาโคล อัตรา ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร หรือใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา “ไตรโคแม็ก” อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเป็นประจำโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน การฉีดพ่นปุ๋ยหรือยาในช่วงฤดูฝนควรเติมสารจับใบลงไปด้วย โดยเฉพาะในฤดูฝนจะช่วยให้สารเคมีจับใบได้ดีไม่ถูกชะล้างอย่างรวดเร็ว
2. โรคแอนแทรคโนส หรือโรคผลเน่า หรือโรคแบลคสปอต (Antracnose or black spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotricchum gloeosporioides
ลักษณะอาการ โรคผลเน่าหรือโรคแอนแทรคโนสนี้ ชาวบ้านมักเรียกว่า "โรคอีบุบ หรือ โรคลุกบุบ" เพราะอาการที่เกิดกับผลนั้นจะเป็นแผลลึกลงไปในเนื้อ โรคนี้เป็นโรคที่ระบาดอย่างช้าๆ แต่ก็รุนแรงและรักษายาก บางท้องที่บางฤดูก็เป็นปัญหาสำหรับการปลูกองุ่นมากเช่นกัน โรคนี้นอกจากจะเป็นที่ผลซึ่งพบได้ทั่วๆ ไปแล้วยังเป็นกับเถาและใบอีกด้วย โดยเชื้อราสามารถแพร่ระบาดไปกับลมและน้ำปกติแล้ว โรคแอนแทรคโนสนี้จะระบาดทำความเสียหายกับทุกส่วนขององุ่น โดยเฉพาะส่วนที่ยังอ่อนอยู่ เช่น ยอดอ่อน กิ่งอ่อน ใบอ่อน ส่วนที่ผลก็เป็นโรคได้ทั้งในระยะผลอ่อนจนถึงระยะผลโต
อาการที่ผล โรคนี้สามารถเข้าทำลายผลองุ่นได้ทุกขนาด ตั้งแต่เล็กจนโต ในผลอ่อนที่เป็นโรคจะเห็นจุดสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม และบุ๋มลงไปเล็กน้อย ขอบแผลสีเข้ม ถ้าอากาศชื้นๆ จะเห็นจุดสีชมพู สีส้มตรงกลางแผล ส่วนในผลแก่จะเห็นบริเวณเน่าเป็นสีน้ำตาล มีจุดสีชมพู สีส้ม เกิดขึ้นบริเวณตรงกลางแผลเต็มไปหมด ถ้าโรคยังคงเป็นต่อไปจะทำให้ผลแห้ง เปลือกเหี่ยว ผลติดกับช่อไม่ร่วงหล่น เมื่อโดนน้ำหรือน้ำค้าง เชื้อโรคก็ระบาดจากผลที่เป็นแผลไปยังผลอื่นๆ ในช่อจนกระทั่งเน่าเสียหมดทั้งช่อ
อาการที่ใบ ในระยะที่เป็นโรคจะเห็นที่ใบเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเป็นแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน ตรงกลางแผลมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา ขอบแผลสีน้ำตาลเข้ม ถ้าอากาศแห้งตรงที่เป็นแผลจะหลุดหายไป ทำให้ใบเป็นรู บางครั้งใบก็ม้วนงอลงมาด้านล่างแต่ไม่ร่วงในทันที ใบที่เป็นโรคจะไม่เติบโตต่อไปเมื่อเป็นโรคมากขึ้นใบจะร่วง
ยอดอ่อน จะเป็นจุดเล็กๆ สีน้ำตาลเข้ม ต่อมาขอบแผลจะขยายออกตามความยาวของกิ่งคือ รอยแผลหัวแหลมท้ายแหลม ขอบแผลเป็นสีน้ำตาลแก่ถึงสีดำ กลางแผลสีดำขรุขระ ในฤดูฝนอากาศมีความชื้นมาก จะเห็นเป็นจุดเล็กๆ สีชมพูอยู่ตรงกลางแผล ถ้าเป็นแผลมากๆ ยอดจะแคระแกร็น มีการแตกยอดอ่อนมาก แต่แตกออกมาแล้วแคระแกร็น ใบที่แตกออกมาใหม่นี้ก็จะมีขนาดเล็กสีซีดผิดปกติและกิ่งจะแห้งตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
1. ทำความสะอาดสวน เก็บกวาดกิ่งใบองุ่นที่ตกอยู่ใต้ต้นไปเผาทิ้งหรือฝังดินให้หมดเพราะส่วนต่างๆ เหล่านี้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคได้
2. เมื่อพบว่าองุ่นเป็นโรคให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกก่อน แล้วจึงฉีดพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา จะช่วยทำลายเชื้อโรคที่หลงเหลืออยู่ได้มาก
3. คอยตัดแต่งกิ่ง จัดกิ่งให้โปร่ง จะช่วยลดปัญหาได้มาก โดยเฉพาะในช่วงที่โรคระบาดมาก
4. ป้องกันกำจัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อราเป็นระยะๆ คือ พ่นสารเคมีครั้งแรกหลังจากตัดแต่งกิ่งที่เหลือ และครั้งที่สองเมื่อเริ่มแตกใบอ่อน ส่วนครั้งต่อๆ ไปดูตามความเหมาะสม สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่ใช้ได้ผลดีกับโรคนี้ เช่น บีโนมิล หรือ เบนเลท อัตรา 5-15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แคปแทน 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือไดแทนเอ็ม 45 อัตรา ช้อนโต๊ะ/น้ำ 20 ลิตร  หรือใช้ ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อรา “ไตรโคแม็ก” อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเป็นประจำ การฉีดพ่นปุ๋ยหรือยาในช่วงฤดูฝน หรือช่วงที่น้ำค้างแรง ควรเติม สารจับใบ จี แอล กรีนลีฟ ลงไปด้วย
3. โรคราแป้ง (Powdery mildew)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Oidium tuckeri
ลักษณะอาการ เป็นโรคที่ระบาดรุนแรงอีกโรคหนึ่งหรือเรียกว่า "โรคขี้เถ้า" มักระบาดมากในช่วงอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง คือ หลังฤดูฝน และในฤดูหนาว เท่านั้น จะเข้าทำลายทุกส่วนของต้นองุ่นที่เห็นได้ชัดคือ
อาการบนใบ ด้านบนของใบจะเห็นเป็นหย่อมๆ หรือทั่วไปบนใบ ต่อมาผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทาและดำ บริเวณใบที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเหลืองอ่อนในระยะแรก ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือดำ ถ้าเป็นโรคมากๆ ใบจะมีอาการม้วนงอได้
อาการบนดอก ถ้าเชื้อราทำลายในขณะที่ยังเป็นดอกจะเหี่ยวแห้งติดกับกิ่ง
อาการบนผล พบว่าเป็นทั้งผลอ่อนจนถึงผลแก่ จะเห็นผลขาวบนผลต่อมาเนื้อผิวของผลที่ถูกทำลายจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลบางครั้งผลจะแตกจนเห็นเมล็ด
อาการที่กิ่งอ่อน จะทำให้กิ่งแห้งตายไปหรือแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
การป้องกันกำจัด
1. ตัดกิ่ง ใบหรือผลที่เป็นโรคเผาทำลายเพื่อมิให้เชื้อโรคแพร่ขยายไปยังส่วนอื่น
2. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัด เช่น บีโนมิล อัตรา 5-15 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แคปแทน 48 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Translate

Popular Posts