การเตรียมความพร้อมสำหรับทำฟาร์มกวาง
1. ปัจจัยด้านความรู้ หมายถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเลี้ยงและดูแลกวาง โดยที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับสหกรณ์กวางแห่งประเทศไทย มีการจัดครอสฝึกอบรมการเลี้ยงกวางปีละ 1 - 2รุ่น การอบรมแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 5 วัน ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,500 บาท
2. ปัจจัยด้านพื้นที่ กวางเป็นสัตว์อยู่ง่ายกินง่าย สามารถเลี้ยงได้ทุกแห่งหนในประเทศไทยขอเพียงอยู่ในพื้นที่ไม่มีน้ำขังหรือน้ำท่วมก็พอ ขนาดของพื้นที่ก็ไม่จำเป็นต้องกว้างขวางอย่างของวัว พื้นที่แค่ 3 - 5 ไร่ สามารถเลี้ยงกวางได้เป็นร้อยตัว สมมุติว่าเรามีพื้นที่ 5 ไร่ แบ่งพื้นที่ไว้ประมาณ 3 ไร่ เพื่อผลิตหญ้าอีก 2 ไร่ ทำเป็นฟาร์มกวางได้ประมาณ 100 - 150 ตัว
3. ปัจจัยด้านอาหารและน้ำ อาหารที่กวางกินนอกจากหญ้าก็มีไม้ใบเขียวทั้งหลาย ยอดไม้ กิ่งไม้ กวางกินได้หมด ที่สำคัญคือน้ำต้องมีน้ำสำหรับใช้ในการผลิตหญ้า ผลิตพืชอาหารให้กวางกิน
4. ปัจจัยด้านเงินทุน ด้วยความที่กวางในประเทศไทยยังมีจำนวนน้อยอยู่ ราคากวางตอนนี้จึงเทียบเท่ากับราคากวางนำเข้าคือประมาณ 25,000 บาท/ตัว เข้าใจว่าในอนาคตเมื่อกวางในประเทศมีจำนวนมากขึ้นราคาคงจะลดลงกวางที่ทางสหกรณ์นำเข้ามาก็มีเพียง 1 สายพันธุ์ คือ รูซ่าจากนิวคาลิโดเนีย โดยติดต่อกับสหกรณ์กวางของเขาโดยตรง โดยเราวางสเปคกวางไปแล้ว นักวิชาการของซีราดที่ประจำอยู่ที่นั่นจะช่วยดูแลจัดหาให้ตามสเปคเรา แต่มีสมาชิกของสหกรณ์รายหนึ่งไปนำกวางเข้ามาจากเวียดนาม จัดการเองโดยที่ทางสหกรณ์ไม่ได้เกี่ยวข้องคือกวางทางเวียดนาม ทางเวียดนามเองก็มีกวางสายพันธุ์เหมือนของเราแต่ที่เขามีคือ กวางดาวเวียดนาม นอกนั้นจะคล้าย ๆ กับของเรา
5. ปัจจัยด้านบุคลากร คนดูแลฟาร์มต้องสามารถอยู่ที่ฟาร์มได้ 24 ชั่วโมง เพื่อกันกวางหายเมื่อกวางหลุดออกไปแล้วมักไม่สามารถตามคืนได้และที่สำคัญคือต้องระวังไม่ให้สุนัขเข้ามารบกวนกวางเพราะมันชอบไล่กัดกวางโดยเฉพาะลูกกวาง
ในการจัดการฟาร์มนั้นก็มี 2 สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่
1. โรงเรือนและอุปกรณ์การเลี้ยง มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ รั้วกวาง เป็นรั้วที่ออกแบบมาเป็นพิเศษมีลักษณะดังนี้
1.1 ไม่เป็นสนิม มีอายุใช้งาน 20 ปี
1.2 มีความยืดหยุ่นสูง (กระเด้งได้)
1.3 สูงประมาณ 2 เมตร รั้วเราใช้ล้อมกวางทำเป็นแปลงให้มันอยู่ ไม่จำเป็นต้องมีโรงเรือนแต่ควรมีร่มให้มันบ้าง วัสดุที่ใช้ทำรั้วทางสหกรณ์กวางได้ประสานงานกับทาง คุณสุรจิตเป็นผู้นำเข้าและบริการให้แก่สมาชิกสหกรณ์ลักษณะของรั่ว 1 ม้วนยาวประมาณ 100 เมตร สูง 5 เมตร ราคาประมาณ 17,500 บาท/ม้วน สรุปแล้ว โรงเรือนไม่จำเป็นสำหรับกวาง ในส่วนอุปกรณ์อื่น ๆ อย่างที่กินน้ำก็ใช้ที่รองส้วมต่อท่อเข้าไปเปิดน้ำใส่ไว้ให้มันกิน และถ้าหากจะเลี้ยงกวางเพื่อเป็นปศุสัตว์จริง ๆ นั้นจะต้องมีส่วนประกอบที่มีความจำเป็นอีกอย่างหนึ่งได้แก่ อาคารจัดการกวาง หรือโรงเรือนจัดการกวาง มีลักษณะเป็นโรงเรือนสูงประมาณ 2 - 2.5 เมตร ฝาผนังทึบ แบ่งเป็นห้อง ห้องเล็ก ๆ แล้วแต่จำนวนกวาง มีห้องที่จะต้อนกวางเข้าไปในซองหนีบกวาง ซองหนีบกวางจะสร้างให้พื้นมันเปิดได้เวลากวางถูกหนีบมันจะไม่มีที่ยันและจะทำอะไรไม่ได้ แค่นี้เราก็สามารถตัดเขา ติดเบอร์หู ฝังชิป ฯลฯ ได้อย่างปลอดภัยกว่าที่จะไม่มีซองหนีบ
2. การจัดการด้านสุขาภิบาล กวางเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่ายมาก เพราะมันดูแลตัวเองได้ อย่างเรื่องอาหารกวางกิน งานจะหนักบ้างก็ตอนเช้า กับบ่ายที่ต้องไปตัดหญ้าให้มันกินและคอยดูแลให้น้ำเท่านั้นเอง ส่วนงานหนักจริง ๆ จะมีแค่ปีละ 1 - 2 ครั้ง คือ การตัดเขาอ่อน แยกฝูง และติดเบอร์หู ในเรื่องโรคภัยไข้เจ็บนั้นแทบไม่มีอะไรเลย มูลกวางก็ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดปล่อยให้ย่อยสลายตามธรรมชาติเพราะลักษณะของมูลกวางจะเป็นเม็ดคล้ายมูลแพะหรือกระต่าย คือแห้งและไม่มีกลิ่นเหม็น
การเลี้ยงดูกวางสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบดังนี้
|
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น