Home » » พลังงานทางเลือกใหม่จากใบหญ้าสู่เอทานอล

พลังงานทางเลือกใหม่จากใบหญ้าสู่เอทานอล

>>>โครงการ TAWISET อนุรักษ์พลังงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 พลังงานทางเลือกใหม่จากใบหญ้าสู่เอทานอล

นักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์จากโครงการ JSTP ศึกษาวิธีเปลี่ยน "หญ้า" วัชพืชไร้ค่า เป็น "เอทานอล" พลังงานทดแทน พบวิธีการย่อยเซลลูโลสในหญ้าด้วยเอนไซม์ ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเอทานอลสูง หวังเป็นวัตถุดิบทางเลือกใหม่ แทนมันสำปะหลังและอ้อยที่อาจขาดแคลนในอนาคต
นางสาวเทียมแข มโนวรกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง จังหวัดชลบุรี และเยาวชนโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project : JSTP) สวทช. เปิดเผยว่า จากภาวะปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทำให้มีการนำพืชหลายชนิดมาใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างพลังงานทดแทน เช่น การนำมันสำปะหลังและอ้อยมาผลิตแก๊สโซฮอล์ หรือปาล์มน้ำมันมาผลิตไบโอดีเซล เป็นต้น แต่ด้วยพืชเหล่านี้เป็นทั้งพืชอาหารและพืชเศรษฐกิจ ในระยะยาวจึงอาจส่งผลให้ผลผลิตขาดแคลนอย่างมากในท้องตลาด และทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าสูงขึ้นตามลำดับ
Invalid Domain Name
"จากการศึกษาพบว่า เอทานอลเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตแก๊สโซฮอล์ ที่ผลิตได้จากพืชพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย โดยพืชกลุ่มนี้จะมีการสะสมแป้งและน้ำตาลอยู่ภายใน ซึ่งแป้งที่เกิดจากการเรียงตัวกันของโมเลกุลน้ำตาลเหล่านี้ เมื่อนำไปผ่านกระบวนการหมักจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ คือ เอทานอล"
ขณะเดียวกันวัชพืช เช่น หญ้าก็มีเซลลูโลสที่เกิดจากการจัดเรียงตัวกันของน้ำตาลเช่นเดียวกับแป้ง ดังนั้นหญ้าก็น่าจะนำมาใช้ผลิตเอทานอลได้ จึงเป็นแรงจูงใจในการศึกษา "พลังงานทางเลือกใหม่จากใบหญ้า" เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงาน โดยมี ดร.ชัชวิน เพชรเลิศ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา และ ดร.วีระวัฒน์ แช่มปรีดา นักวิจัยจากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สวทช. เป็นนักวิทยาศาสตร์พี่เลี้ยง
น.ส.เทียมแขกล่าวว่า ในกระบวนการผลิตเอทานอลจากวัชพืช ต้องเริ่มต้นจากการนำวัชพืชไปผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิส (การย่อยเซลลูโลสให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) เพื่อให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวที่มีหมู่คาร์บอนิลซึ่งถูกออกซิไดซ์ได้ง่าย เป็นน้ำตาลที่ยีสต์สามารถนำไปใช้ในกระบวนการหมัก) ก่อน จากนั้นจึงนำน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้ไปเป็นสารตั้งต้นในกระบวนการหมักเพื่อให้ ได้เอทานอล
ทั้งนี้ กระบวนการไฮโดรซิสนั้น ทำได้สองวิธี คือ ไฮโดรไลซ์ด้วยกรด (Acid  Hydrolysis) และไฮโดรไลซ์ด้วยเอนไซม์ (Enzymatic Hydrolysis) ในงานวิจัยชิ้นนี้จึงได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการไฮโดร ไลซิสของวัชพืช เพื่อให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์มากที่สุด โดยวัชพืชที่นำมาใช้ศึกษาคือ ธูปฤๅษี หญ้าขน และหญ้าชันกาศ
ผลการทดลองพบว่า วิธีการไฮโดรไลซิสวัชพืชด้วยเอนไซม์นั้น จะให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงกว่าการไฮโดร ไลซิสด้วยสารละลายกรด โดยการ ไฮโดรไลซิสวัชพืชด้วยสารละลายโซ เดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 10% ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงที่สุด และจากการทดสอบในวัชพืชทั้งสามชนิดนั้นพบว่า หญ้าขนเป็นวัชพืชที่ให้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์สูงสุด รองลงมาคือหญ้าชันกาศและธูปฤๅษี ตามลำดับ ส่วนปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้ต่อปริมาณวัชพืชที่ใช้นั้น ก็มากเพียงพอต่อการนำไปใช้ในการหมักเอทานอลได้
"อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์จากหญ้ากับพืชพลังงาน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ในสัดส่วนที่เท่ากันจะพบว่า พืชพลังงานให้ปริมาณน้ำตาลที่มากกว่า แต่ "หญ้า" ก็นับเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตเอทานอลที่น่าสนใจ เพื่อทดแทนมันสำปะหลังและอ้อยที่กำลังประสบปัญหาขาดแคลน และอาจมีราคาแพงมากขึ้นในอนาคต ซึ่งหญ้าที่นำมาใช้ทดลองครั้งนี้เป็นหญ้าที่พบได้ทั่วไป มีปริมาณมาก จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งต่อการนำมาใช้ในการผลิตพลังงาน ที่สำคัญยังถือเป็นการนำทรัพยากรมาใช้อย่างคุ้มค่า ดีกว่าการตัดหรือเผาทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์" น.ส.เทียมแขกล่าวทิ้งท้าย.



ที่มา                            http://www.ryt9.com/s/tpd/1208788

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Translate

Popular Posts