Home » » เปิดรายงาน น้ำมันมะพร้าวกับการป้องกันโรคมะเร็ง(ภาคที่ 2)

เปิดรายงาน น้ำมันมะพร้าวกับการป้องกันโรคมะเร็ง(ภาคที่ 2)

ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 18): เปิดรายงาน น้ำมันมะพร้าวกับการป้องกันโรคมะเร็ง(ภาคที่ 2) !?

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน21 กุมภาพันธ์ 2557 19:14 น.
       Žณ บ้านพระอาทิตย์
       โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
      
       "มะเร็งเต้านม" กลายเป็นโรคร้ายที่ยังสาเหตุที่ชัดเจนไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่ที่กระแสในเวลานี้ดูเหมือนว่าในวงการนักวิจัยนั้นกำลังสงสัย ว่าเป็นเพราะสาเหตุใดระหว่าง การบริโภคไขมันผิดประเภทในปริมาณมากไป หรือมีปริมาณเอสโตรเจนมากเกินไปกันแน่
      
        ด็อกเตอร์ Leonard A. Cohen และคณะนักวิจัยแห่งมูลนิธิสุขภาพของชาวอเมริกัน ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมหลายชิ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2527 - 2530 งานวิจัยทั้งหมดนั้นต่างระบุยืนยันตรงกันว่า ชนิดของกรดไขมันมีผลต่อการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมในการทดลองกับหนูที่ถูกกระตุ้นทางเคมี
      
        ในการทดลองหลายปีติดต่อกันจึงได้พบความจริงที่ว่ากรดไขมันสายปานกลางซึ่งมีมากในน้ำมันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการเจริญเติบโตของมะเร็งเต้านมในหนูทดลองที่ถูกกระตุ้นทางเคมี
 ในขณะที่น้ำมันชนิดอื่นโดยเฉพาะน้ำมันข้าวโพดที่มีไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งนั้นหากบริโภคในปริมาณมาก (20%)จะทำให้เซลล์มะเร็งในหนูเพิ่มขึ้นได้มากกว่าถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับการเลี้ยงในปริมาณไขมันจากข้าวโพดในปริมาณต่ำ (5%) และเชื่อว่าน้ำมันเป็นสาเหตุสำคัญมากกว่าปัจจัยเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจน
      
        การทดลองที่ว่านี้สอดคล้องกันกับการทดลองเมื่อปี พ.ศ. 2527 ของ Bandaru S. Reddy และ Yoshiichi Maeura ด้วยการฉีดสารก่อมะเร็งที่ลำไส้ในหนูและพบว่า การเลี้ยงหนูด้วยน้ำมันมะพร้าวไม่ทำให้มีเนื้องอกเกิดขึ้น ในขณะที่น้ำมันน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยเป็นตัวกระตุ้นมะเร็งได้มากเมื่อเลี้ยงด้วยปริมาณที่มากขึ้น
      
        แม้ในช่วงหลังจะได้มีการพูดถึงฮอร์โมนเอสโตรเจนว่าอาจจะเป็นสาเหตุของเนื้องอกหรือมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งมดลูก แต่ ด็อกเตอร์ Leonard A. Cohen ได้ชี้แจงในประเด็นนี้ในการเขียนในวารสารสถาบันมะเร็งแห่งชาติฉบับเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2543 ว่าได้เคยทำการทดลองร่วมกับนักวิจัยอีกท่านหนึ่งในปี พ.ศ. 2524 พบว่าแม้กระทั่งทำการทดลองหนูที่ถูกกระตุ้นทำให้เป็นมะเร็งมดลูกจนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนให้ไหลเวียนได้แล้ว แต่หากเลี้ยงด้วยไขมันที่ไม่อิ่มตัวในปริมาณที่สูงก็ยังทำให้มะเร็งมีการเจริญเติบโตขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้นไขมันจึงน่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจน
      
        อย่างไรก็ตามเมื่อปี พ.ศ. 2542 นักวิจัยอีกคณะหนึ่งนำโดย Wu AH ได้ศึกษาค้นคว้าวิเคราะห์ในหัวข้อ Meta-analysis: dietary fat intake, serum estrogen levels, and the risk of breast cancer ซึ่งตีพิมพ์ใน J. Natl Cancer Inst 1999; 91:529-34แล้วพบว่านอกเหนือจากปัจจัยปริมาณไขมันแล้ว ปัจจัยฮอร์โมนเอสโตรเจนก็ไม่ควรตัดทิ้งเช่นเดียวกัน โดยให้เหตุผลว่า ชาวเอเชียส่วนใหญ่มีความเสี่ยงในเรื่องโรคมะเร็งเต้านมน้อยกว่าชาวฝรั่ง และมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในกระแสเลือดและปัสสาวะต่ำกว่าชาวฝรั่ง แต่ก็แน่นอนว่าชาวเอเชียก็บริโภคไขมันต่ำกว่าชาวฝรั่งด้วยโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับผู้หญิงในอเมริกาและสหราชอาณาจักรด้วย ในปี พ.ศ.2543 คณะนักวิจัยชุดนี้ได้ให้ความเห็นแม้จะไม่ปฏิเสธในเรื่องของปัจจัยในเรื่องชนิดของไขมันที่มีผลต่อเซลล์มะเร็งเต้านม แต่ยังมีความเชื่อว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่จะทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ด้วย ดังนั้นจึงยังไม่ควรตัดประเด็นปัจจัยเรื่องฮอร์โมนเอสโตรเจนและต้องศึกษาต่อไป
      
        ในชั้นนี้คงจะยังไม่กล่าวข้อถกเถียงกันระหว่างถั่วเหลืองว่าจะเพิ่มหรือลดฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ จะเพิ่มหรือลดความเสี่ยงเรื่องมะเร็งเต้านม เอาเป็นว่าน้ำมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่มีกรดไลโนเลอิกมาก เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันรำข้าว หากนำมาทอดผัดและหรือบริโภคปริมาณมากเป็นประจำเซลล์มะเร็งจะเติบโตและขยายตัวขึ้นได้อย่างแน่นอน
      
        มาถึงเรื่องสำคัญของมะเร็งอีกบริเวณหนึ่งคือ "มะเร็งผิวหนัง" เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวมีสารต้านอนุมูลอิสระจึงสามารถต้านการทำงานของอนุมูลอิสระ ถึงขนาดที่ครีมทากันแดดที่เน้นผิวสีแทนมักจะผสมน้ำมันมะพร้าวไปด้วย อนุมูลอิสระทำให้เกิดความเสี่อมในอวัยวะของร่างกายเรารวมถึงโรคมะเร็งผิวหนังด้วย ดังนั้นจึงสามารถเอามาทาผิวหนังได้ด้วย
      
        ความสำคัญของน้ำมันมะพร้าวคงไม่ได้อยู่เพียงแค่มีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญตรงที่ว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นกรดไขมันสายปานกลางจึงมีโมเลกุลขนาดเล็กกว่าน้ำมันชนิดอื่น จึงนำพาสารต้านอนุมูลอิสระเข้าไปในร่างกายได้ง่ายกว่าไขมันจากชนิดอื่น ทั้งนี้สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันมะพรร้ายหลายชนิดได้แก่ วิตามินอี สารฟีนอล และสารไฟโตสเตอรอล เป็นต้น
      
        เมื่อปี พ.ศ. 2537 Nalasco, N.A. และคณะวิจัย ได้วิจัยในหัวข้อ Effect of coconut oil, trilaurin and triplamitin on the promotion stage of carcinogenesis ตีพิมพ์ใน Phillip. J. Sci. 123:161-9 โดยการทดลองนี้ได้ใช้สารเคมีกระตุ้นให้หนูทดลองเกิดมะเร็งผิวหนัง ซึ่งมะเร็งะจะพัฒนาขึ้นภายใน 20 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามเมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวร่วมกับสารเคมีที่ก่อมะเร็งผิวหนัง ก็ปรากฏว่าไม่เกิดมะเร็งผิวหนังแต่ประการใด
ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 18): เปิดรายงาน น้ำมันมะพร้าวกับการป้องกันโรคมะเร็ง(ภาคที่ 2) !?
       ยิ่งไปกว่านั้นจาก ด็อกเตอร์ Bruce Fife ผู้เชี่ยวชาญศูนย์วิจัยมะพร้าวแห่งโคโรลาโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางมาที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย เพื่อนำเสนอผลงานทดลองครั้งสำคัญในการสัมมนาระหว่างประเทศเชิงปฏิบัติการในเรื่องสมุนไพรและต้นไม้น้ำมันหอม ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 ถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ว่ามีผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นมะเร็งเม็ดสีผิว (Melanoma) ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงมาก ชนิดที่ผู้ป่วยหนึ่งในสี่รายจะเสียชีวิต และเนื้อร้ายจะแพร่กระจายเข้าสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ผลปรากฏว่าผู้ป่วยรายดังกล่าวนี้ไม่ได้รักษาด้วยวิธีอื่น แต่ใช้น้ำมันมะพร้าวทาบริเวณที่เป็นมะเร็งเม็ดผิวสีทุกวันเป็นเวลาติดต่อกัน 3 เดือน ผลปรากฏว่ามะเร็งเม็ดสีผิวจางลงไปอย่างมาก
      
        สรุปจากงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ การทดลองหลายชิ้นพบว่าแม้ร่างกายจะถูกกระตุ้นด้วยสารก่อมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม หรือ มะเร็งเม็ดสีผิว แต่น้ำมันมะพร้าวเป็นเพียงน้ำมันชนิดเดียวที่เมื่อได้รับเข้าไปแล้วเซลล์มะเร็งไม่เกิดขึ้น และยังรวมถึงสามารถลดปริมาณเซลล์มะเร็งบางชนิดให้มีขนาดลดลงได้ด้วย
 ในขณะที่น้ำมันชนิดอื่นที่เป็นกลุ่มไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งที่มีกรดไลโนเลอิกสูง เช่น ข้าวโพด ดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ทำให้เซลล์มะเร็งขยายตัวได้มากขึ้นทั้งสิ้น
      
        ส่วนไขมันจากสัตว์ทุกชนิดนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะกองทุนวิจัยมะเร็งโลก World Cancer Research Fund (WCRF) ร่วมกับ สถาบันอมริกันเพื่อการวิจัยมะเร็ง หรือAmerican Institute for Cancer Research (AICR) ได้สรุปเอาไว้ในรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2550 ว่า "แม้จะมีหลักฐานอย่างจำกัด แต่จากข้อมูลหลักฐานที่ปรากฏแนะนำว่าอาหารที่ได้จากไขมันสัตว์นั้นเพิ่มพลังงานที่มีความหนาแน่นสูงซึ่งจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง"
      
        ถึงจุดนี้ข้อแนะนำของการป้องกันมะเร็งคือ งดไขมันสัตว์ พยายามลดแป้ง งดน้ำตาล ลดโปรตีน กินผักให้มาก ให้รับประทานผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวาน ดื่มน้ำด่างให้มาก ทำจิตใจให้เบาสบายและไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ เอาพิษออกให้มาก ออกกำลังกาย และอดอาหารเป็นช่วงๆ รักษาสมดุลร้อน-เย็น ตลอดจนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการดื่มน้ำมันมะพร้าว

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Translate

Popular Posts