Technic-farm
รวมเทดนิคต่างๆที่ใช้ในการเกษตร
≡
Navigation
Home
หลักการและแนวคิด
เศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาดิน
การดูแลรักษาน้ำ
การบำบัดป้องกันกลิ่น
แนวคิดทั่วไป
เทคนิคการเลี้ยงสัตว์
การเลี้ยงหมู
การเลี้ยงไก่
การเลี้ยงเป็ด
การเลี้ยงปลา
การเลี้ยงวัว
การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ
เทคนิคการปลูกพืช
การปลูกผัก
การปลูกไม้ยืนต้น
การปลูกเห็ด
การปลูกพืชเศรษฐกิจ
การปลูกพืชสมุนไพร
การปลูกไม้ประดับ
เทคนิคการแปรรูป
อาหารภาคกลาง
อาหารภาคเหนือ
อาหารภาคอีสาน
อาหารภาคใต้
ขนมไทย
การแปรรูปทั่วไป
ปุ๋ย ยา อาหารสัตว์
ปุ๋ยเคมี
ปุ๋ยธรรมชาติ
ยารักษาโรคพืช
ยารักษาโรคสัตว์
ยาฆ่าแมลง
อาหารสัตว์ต่างๆ
About
Webboard ซื้อขายเกษตร
ติดต่อเรา
คำถามที่บ่อย
ลงโฆษณากับเรา
Home
»
แนวคิดทั่วไป
» ปฏิวัติน้ำมันพืช อย่าปล่อยให้พวกเขาหลอกพวกเราอีกต่อไป
ปฏิวัติน้ำมันพืช อย่าปล่อยให้พวกเขาหลอกพวกเราอีกต่อไป
ปฏิวัติน้ำมันพืช (ตอนที่ 1): อย่าปล่อยให้พวกมันหลอกพวกเราอีกต่อไป
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน
4 ตุลาคม 2556 19:08 น.
ภาพที่ 1: แสดงประวัติศาสตร์เส้นทางเดินของมะพร้าว
ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
ด้วยความเฉลียวฉลาดของมนุษย์ ได้นำน้ำมันมะพร้าวซึ่ง มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated oil) มาใช้เป็นอาหาร ยา และเครื่องสำอางค์นับเป็นพันๆปี โดยที่คนในสมัยก่อนไม่ค่อยเป็นโรคเหมือนกับคนในสมัยนี้ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคธัยรอยด์ โรคผิวหนัง ฯลฯ ที่น่าสนใจก็คือแม้โลกจะไม่ได้มีการเชื่อมโยงกันเรื่องข้อมูลข่าวสารเหมือนกับยุคนี้ แต่คนทั่วโลกที่ใช้น้ำมันมะพร้าวในอดีตต่างรู้สรรพคุณในการใช้ใกล้เคียงกันโดยมิได้นัดหมาย ทั้งในด้านการปรุงอาหาร เป็นยารักษาโรค ทาแผลจากของมีคมและฟกช้ำ ใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิวและเส้นผม ทั้งในอินเดียที่ใช้กันมากว่า 5,000 ปี ชาวปาปัวนิวกินี ชาวปานนามาชาวจาไมก้า ชาวไนจีเรีย โซมาเลีย และเอธิโอเปียชาวแอฟริกากลางและแอฟริกาใต้ ชาวพื้นเมืองในเกาะซามัว ชาวศรีลังกา ชาวฟิลิปปินส์ ชาวอินโดนีเซีย ชาวไทย นิยมใช้น้ำมันมะพร้าวมาปรุงอาหาร คาวหวาน โดยเฉพาะกะทิ ใช้เป็นยา เป็นเครื่องประทินบำรุงผิว รักษาผิว
ด้วยคุณสมบัติที่เป็นน้ำมันพืชที่มีสรรพคุณหลายด้านที่เห็นผลตรงกันในหลายประเทศ ทำให้ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 น้ำมันมะพร้าวจึงกลายเป็นน้ำมันที่นิยมใช้ในการปรุงอาหารและยาทั่วโลก
ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา แม้ในยุโรปในเวลานั้นก็มีการนำน้ำมันมะพร้าวมาใช้สำหรับคนป่วยที่มีปัญหาระบบย่อยอาหารหรือการดูดซึมอาหารที่ไม่ดี ตลอดจนใช้สำหรับเด็กเล็กที่ย่อยไขมันชนิดอื่นไม่ค่อยได้ สร้างภูมิคุ้มกัน ฯลฯ
ภาพที่ 2 : แสดงพื้นที่ในกรอบเส้นสีแดงที่เป็นแหล่งของมะพร้าวตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้คิดตามว่าหากคนในโลกนี้เปลี่ยนน้ำมันพืชมาเป็นน้ำมันมะพร้าวประเทศใดจะได้รับประโยชน์สูงสุด
ต่อมาเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ. 2484 -2488) กองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองประเทศฟิลิปปินส์และหมู่เกาะต่างๆในย่านเอเชียและแปซิฟิก ส่วนไทยก็เป็นทางผ่านร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่นด้วย ในเวลานั้นสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรฯเป็นศัตรูกับญี่ปุ่น ทำให้น้ำมันมะพร้าวในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกนี้ต้องหยุดส่งไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตรฯไปโดยปริยาย
เมื่อน้ำมันมะพร้าวขาดแคลนในสหรัฐอเมริกาจึงทำให้ต้องมีการสานต่อการผลิตน้ำมันพืชชนิดอื่นขึ้นมาแทน ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้มีการคิดค้นน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (polyunsaturated oil) ขึ้นมา เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา น้ำมันทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันคาโนลา น้ำมันถั่วลิสง ฯลฯ
ผลก็คือทำให้เกิดการปลูกพืชเหล่านี้กันอย่างแพร่หลายมากในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะถั่วเหลือง ซึ่งสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรในยุคนั้นอย่างมหาศาล และทำให้สมาคมถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกากลายเป็นกลุ่มทุนที่มีอิทธิพลทางการเมืองในสหรัฐอเมริกานับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 ประเทศญี่ปุ่นตกกลายเป็นผู้แพ้สงคราม หลังจากนั้น น้ำมันมะพร้าวจึงเริ่มส่งออกจำหน่ายไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง
ในเวลานั้นสงครามทางการค้าระหว่าง "น้ำมันพืชอิ่มตัว" และ "น้ำมันพืชไม่อิ่มตัว" ได้เริ่มต้นรุนแรงขึ้น
และคู่แข่งอันสำคัญในเวลานั้น ฝ่ายน้ำมันพืชอิ่มตัวก็คือ
"น้ำมันมะพร้าว"
จากเอเชียและแปซิฟิก
และฝ่ายที่เป็นน้ำมันพืชไม่อิ่มตัวก็คือ "น้ำมันถั่วเหลือง" ที่ปลูกกันมากในสหรัฐอเมริกาในเวลานั้น
กลุ่มสมาคมถั่วเหลืองแห่งอเมริกัน(American Soybean Association หรือ ASA) ได้โจมตีน้ำมันมะพร้าวว่าเป็นไขมันอิ่มตัว ทำให้เป็นคอเลสเตอรอลได้ง่าย ทำให้เป็นโรคหัวใจได้ง่าย อ้วนง่าย และทำให้เป็นอัมพาต !!!
ในปี พ.ศ. 2500 เป็นเวลา 12 ปีหลังจากยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ปฏิบัติการทำลายความน่าเชื่อถือน้ำมันมะพร้าวได้รุนแรงขึ้นไปอีก โดยได้มีงานวิจัยที่ประดิษฐ์ขึ้นหลายชิ้น ที่ระบุว่าน้ำมันมะพร้าวเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ อัมพาต และโรคอ้วน
โดยงานวิจัยชิ้นเหล่านั้นนั้นมีการใช้ความร้อนและเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันมะพร้าวในส่วนที่ยังเป็นไขมันไม่อิ่มตัว ให้เป็นน้ำมันไฮโดรจีเนตที่ผิดธรรมชาติ เพื่อทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิดแล้วโจมตีน้ำมันมะพร้าวให้เสียหายโดยตรง เพราะงานวิจัยชิ้นนั้นไม่สอดคล้องกับงานวิจัยต่อๆกันมาอีกจำนวนมากในรอบ 50 กว่าปีที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังเลยแม้แต่น้อย
แต่งานวิจัยการโจมตีไขมันอิ่มตัวไม่มีเพียงลักษณะดังกล่าวข้างต้นเท่านั้น ยังมีอีกหลายชิ้นแต่ไม่ได้โจมตีน้ำมันมะพร้าวตามธรรมชาติโดยตรงเพราะรู้ว่าโจมตีได้ยาก
จึงเน้นการโจมตีน้ำมันที่เป็น "ไขมันอิ่มตัว" ก่อให้เกิดผลร้ายต่อสุขภาพ และทำให้เชื่อว่าไขมันอิ่มตัวคือผู้ร้ายในวงการน้ำมันที่ใช้สำหรับปรุงอาหาร เพื่อเชื่อมโยงทางอ้อมว่าน้ำมันมะพร้าวคือไขมันอิ่มตัว ดังนั้นน้ำมันมะพร้าวจึงต้องทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพด้วย
สำหรับในประเทศไทยก็มีการโฆษณาน้ำมันถั่วเหลืองยี่ห้อหนึ่งว่าน้ำมันถั่วเหลืองของยี่ห้อตัวเองแช่ตู้เย็นแล้วไม่เป็นไข แต่น้ำมันอิ่มตัวแช่ตู้เย็นแล้วเป็นไข เพื่อชักชวนผู้บริโภคให้รู้สึกหวาดกลัวว่าเมื่อเป็นไขแล้วจะเป็นก้อนไขมันอุดตันในเส้นเลือดในท้ายที่สุด โดยผู้บริโภคในยุคนั้นไม่เคยฉุกคิดเลยสักนิดว่าน้ำมันมะพร้าวจะเริ่มจับตัวเป็นไขเมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสเท่านั้น แต่ร่างกายมนุษย์มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 36.4 - 37.0 องศาเซลเซียส จึงไม่มีทางจะเกิดไขขึ้นได้เลยในร่างกายมนุษย์
แต่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดก็เพราะเป็น
"สงครามทางการค้า"
ที่มีความรุนแรงอย่างมาก
สมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน
เผยแพร่และรณรงค์อย่างหนักในช่วงปี พ.ศ. 2523 - 2532 ให้คนอเมริกันเลิกกินไขมันอิ่มตัว ซึ่งรวมถึงน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ซึ่งเรียกรวมๆว่าเป็นน้ำมันจากเขตร้อน (Tropical Oil) เป็นอันตราย ทำให้คอเลสเตอรอลสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เพื่อให้คนทั้งโลกไปบริโภคน้ำมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated Oils) โดยเฉพาะน้ำมันถั่วเหลืองแทน
หลังจากนั้นคนอเมริกันและคนทั่วโลกก็หลงอยู่ในมายาคติและการโฆษณาชวนเชื่อ จึงตื่นตระหนกและรังเกียจใช้น้ำมันมะพร้าวมากขึ้น ส่งผลทำให้คนบริโภคน้ำมันมะพร้าวน้อยลงอย่างรวดเร็ว และคนบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองมากขึ้นเรื่อยๆ
ราคามะพร้าวตกลง มีการโค่นต้นมะพร้าวในเอเชียแปซิฟิกจำนวนมากแล้วหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างอื่นทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน
ภาพที่ 3 : แสดงการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองสำหรับเป็นอาหารในสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะหลังช่วงการรณรงค์ให้คนอเมริกันหวาดกลัวกับไขมันอิ่มตัว
ภาพที่ 4 : แสดงการเปลี่ยนแปลงของประชากรคนอ้วนและน้ำหนักเกินในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างมากในรอบ 19 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 2533 - 2552)
ในที่สุดสงครามน้ำมันพืชยุติลง "น้ำมันถั่วเหลือง" ได้รับชัยชนะอย่างขาดลอย!!!
แต่สิ่งที่คนอเมริกันและทั่วโลกที่หันไปใช้น้ำมันถั่วเหลือง กลับได้รับคือ คอเลสเตอรอลที่มีอนุมูลอิสระทำลายหลอดเลือดสูงขึ้น เป็นโรคเบาหวานมากขึ้น อ้วนมากขึ้น(จนมีคนอ้วนมากที่สุดในโลก) และโรคหัวใจและโรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนอเมริกันมากที่สุด ทั้งๆที่ใช้น้ำมันถั่วเหลืองกันอย่างมหาศาลแล้ว และทำให้ในช่วง 15-20 ปีมานี้คนอเมริกันเริ่มตื่นตัวกับปัญหาสุขภาพของตัวเองกันมากขึ้น
ภาพที่ 5 : แผนภูมิแสดงเปรียบเทียบ % ของ 10 สาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรในสหรัฐอเมริการสหรัฐอเมริกา ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก โดยโรคหัวใจและโรคมะเร็งกลายเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุดในยุคปัจจุบัน
เมื่อเห็นข้อมูลดังนี้อาจจะมีคนตั้งคำถามว่าการอ้วนขึ้นหรือการเปลี่ยนแปลงสาเหตุของการเสียชีวิตของคนอเมริกันอาจไม่ได้มาจากน้ำมันพืชก็ได้ ก็มีส่วนจริงอยู่เหมือนกัน แต่ก็ขอให้เก็บคำถามนี้เอาไว้ก่อน เพราะจะกล่าวถึงการศึกษาค้นคว้าและงานวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับโรคเหล่านี้ต่อไป
แต่ในชั้นนี้เพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่าการโฆษณาชวนเชื่อว่าการหยุดกินไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าวแล้วหันมากินน้ำมันถั่วเหลืองแทนจะทำให้ไม่เป็นโรคหัวใจ ไม่เป็นโรคมะเร็ง หรือไม่เป็นโรคอ้วนนั้น ก็ไม่ได้เป็นความจริงแต่ประการใด
ภาพที่ 6 : ดร.เรย์ พีท (Ray Peat) นักชีววิทยา แห่งมลรัฐโอเรกอน อาจารย์สอนมหาวิทยาลัยหลายแห่ง เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธัยรอยด์และฮอร์โมน ในสหรัฐอเมริกา
แต่ในทางตรงกันข้าม
ดร.เรย์ พีท (Ray Peat)
ผู้เชี่ยวชาญด้านธัยรอยด์ และฮอร์โมน แห่งมลรัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ได้เขียนรายงานเอาไว้เมื่อปี พ.ศ. 2548 ค้นพบว่า ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อมีการรณรงค์ในเรื่องการโจมตีน้ำมันมะพร้าวอย่างหนักหน่วง ทำให้คนเชื่อว่าน้ำมันมะพร้าวทำให้อ้วนคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และอ้วนง่าย
ในช่วงเวลานั้นมีรายงานบันทึกปรากฏในหนังสือเอนไซโคลพีเดียแห่งสหราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2489 ว่า ผู้เลี้ยงหมูได้ซื้อน้ำมันมะพร้าวเอาไปเลี้ยงหมูเพราะเชื่อว่าจะทำให้หมูอ้วนเร็วทำน้ำหนักง่ายตามการโฆษณาของสมาคมถั่วเหลืองอเมริกัน แต่เมื่อนำน้ำมันมะพร้าวมาให้หมูกินแล้วปรากฏว่า...
หมูที่เลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าว "ผอมลง"ทั้งเล้า!!!
หลังจากนั้นวงการธุรกิจปศุสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว ทั่วโลกต่างก็ได้มีความรู้มากขึ้นว่าหากจะเลี้ยงให้สัตว์ตัวเองอ้วนขึ้นนั้น ต้องให้กิน "ถั่วเหลือง" และ "ข้าวโพด" เพราะล้วนแล้วแต่เป็นธัญพืชที่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัวทั้งสิ้น ไม่มีใครเลี้ยงด้วยน้ำมันมะพร้าวอีกต่อไป เพราะรู้ว่าน้ำมันจาก "ถั่วเหลือง" และ "ข้าวโพด" นั้นเป็นไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถั่วเหลืองในยุคหลังมีการตัดแต่งพันธุกรรมจะกดการทำงานของไทรอยด์ให้ต่ำลง ทำให้เกิดการเผาผลาญได้ช้าลง สัตว์จึงกินน้อยแต่ขุนให้อ้วนง่าย ไขมันเยอะ เหมาะอย่างมากในการทำน้ำหนักให้ได้กำไรในการขาย
ภาพที่ 7 : ภาพจากภาพยนตร์ Food Inc. สารคดีเปิดโปงอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารได้รับรางวัลออสก้า แสดงการเปรียบเทียบขนาดของไก่ในยุคเมื่อปี พ.ศ. 2493 (ซ้ายมือ) หลังยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านมา 5 ปีที่ใช้เวลาเลี้ยง 70 วัน กับ ไก่ที่เลี้ยงในยุคปี พ.ศ. 2551 (ขวามือ) ที่กินถั่วเหลืองตัดแต่งพันธุกรรมและฉีดยาปฏิชีวนะในช่วงเวลา 48 วัน
และเมื่อปี พ.ศ. 2554 ดังเต รอคชีซาโน (Dante Roccisano) และ มาเช เฮนเนอเบอร์ค (Maciej Henneberg) จากหน่วยงานวิจัยทางด้านชีวมนุษยวิทยาและกายวิภาคเชิงเปรียบเทียบ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งแอดเดลเลทด์ (University of Adelaide) ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำหัวข้อการศึกษาในเรื่องการบริโภคผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองโดยเฉพาน้ำมันถั่วเหลืองต่อหัวประชากรในหลายประเทศโดยอาศัยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก พบว่าปริมาณการบริโภคน้ำมันถั่วแหลืองมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญสอดคล้องกับภาวะโรคอ้วน
Tweet
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
Translate
Technic-farm
กำลังโหลด...
ป้ายกำกับ
การปลูกพืชเศรษฐกิจ
(7)
การปลูกไม้ยืนต้น
(4)
การปลูกเห็ด
(2)
การแปรรูปทั่วไป
(4)
การพัฒนาดิน
(2)
การเลี้ยงไก่
(19)
การเลี้ยงปลา
(2)
การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ
(18)
การเลี้ยงหมู
(9)
แนวคิดทั่วไป
(25)
ยาฆ่าแมลง
(3)
เศรษฐกิจพอเพียง
(4)
อาหารสัตว์ต่างๆ
(2)
Popular Posts
ใครอยากปลูกกาแฟเชิญทางนี้ครับ
กาแฟ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ วงศ์ (Family): Rubiaceae จีนัส (Genus): Coffea สปีชีส์ (Species): C. Canephora ...
การผลิตมะม่วงนอกกฤดู
การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ (การผลิตมะม่วงนอกกฤดู) สามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพ เฉลี่ย 3,125 กิโลกรัมต...
พืชที่เหมาะในการทำยาฆ่าแมลง
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ยาฆ่าแมลงปลอดสารพิษ ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นประเทศหนึ่งในห...
การเลี้ยงมดแดงไข่นอกฤดู
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมดแดง ไข่มดแดง มดแดงเป็นแมลงชนิดหนึ่งจัดอยู่ในแมลงที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตร แต่คนส่วนใหญ่จะไม่ทราบและ...
การเลี้ยงกบในล้อรถยนต์เก่า (กบคอนโด)
การเลี้ยงกบในล้อรถยนต์เก่า (กบคอนโด) การเลี้ยงกบในล้อรถยนต์เก่า (กบคอนโด) เป็นการนำเอายางรถยนต์เก่ามาเรียงซ้อน...
การเลี้ยงกบในขวดพลาสติก
การเลี้ยงกบในขวดพลาสติก 1. วัสดุอุปกรณ์ 1.1 ขวดน้าพลาสติกขนาด 5- 6 ลิตร 1.2 ขวดน้าพลาสติกขนาด 1 ลิตร 1.3 ชั้นวาง 1.4 พันธุ์ก...
การปลูกมะพร้าว
การปลูกมะพร้าว มะพร้าว เป็นพืชที่ขึ้นได้ทุกที่ในประเทศบ้านเรา รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เป็นพืชที่สุดแสนจะวิเศษ เนื่องจากปร...
การเลี้ยงนกกระทา
การเลี้ยงนกกระทา นกกระทาญี่ปุ่น (Japanese Quail ; Coturnix coturnix japonica) เ ป็นชนิดย่อยของนกกระทาญี่ปุ่นที่นิยมเล...
การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู
การปลูกมะนาวในบ่อซีเมนต์และการทำมะนาวนอกฤดู สำหรับเกษตรกรที่คิดจะปลูกมะนาวในวงบ่อ ซีเมนต์จำนวน 100 บ่อ จะใช้เนื้อที่ประมาณ 1 ไ...
ปลูกมะละกอพืชสารพัดประโยชน์
ปลูกมะละกอพืชสารพัดประโยชน์ มะละกอ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Carica papaya L. ชื่อสามัญ : Papaya, Pawpaw, Tree melon วงศ์ : Caricac...
Follow via Facebook
Follow via Twitter
Follow via Google
Follow via Pinterest
Follow via Youtube
Follow via RSS
เศรษฐกิจพอเพียง
0 ความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น