Home » » สมุดประจำตัวไก่ชน (การเลี้ยงไก่ชน)

สมุดประจำตัวไก่ชน (การเลี้ยงไก่ชน)

สมุดประจำตัวไก่ชน



การจัดทำสมุดประจำตัว ไก่ชนของกรมปศุสัตว์นี้ก็เพื่อเป็นการป้องกันโรค และเพื่อให้เกษตรกรได้มีความรู้ความ เข้าใจในการบันทึกประวัติไก่ ของตน เนื่องจากไก่ชนเป็นไก่ที่เลี้ยงไว้เพื่อการกีฬา จะมีการเคลื่อนย้าย หรือนำไปแข่งขันในต่างพื้นที่เป็นประจำ ความจำเป็นในการควบคุมโรคจึงจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีการเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีก อย่างไรก็ตามก็ไม่ได้ทิ้งเรื่องการฝังไมโครชิพ แต่จะต้องพัฒนาการฝังชิพไม่ให้ไก่ชนเกิดความรำคาญ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการชนของไก่เปลี่ยนไปได้

กรมปศุสัตว์ได้กำหนดมาตาการเฝ้าระวังและ ควบคุมเคลื่อนย้าย เพื่อป้องกันการระบาดของโรค ดังนี้
  1. ผู้เลี้ยงไก่ชนทั้งที่เป็นลักษณะฟาร์มและไม่เป็นลักษณะฟาร์มต้องขึ้นทะเบียน กับกรมปศุสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพื้นที่ทุกจังหวัด
  2. สัตวแพทย์สำนักงานปศุสุตว์จังหวัด จะดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างจากทุกฟาร์มหรือ ทุกบ้านที่มีการเลี้ยงไก่ชนเป็นประจำทุก ๒ เดือน เพื่อตรวจเฝ้าระวังการเกิดโรคระบาดสัตว์ปีก ซึ่งการดำเนินการเฝ้าระวังเช่นนี้จะดำเนินการกับการเลี้ยงสัตว์ปีกทุกประเภท ไม่เฉพาะการเลี้ยงไก่ชน
  3. ไก่ที่มีไว้เพื่อชน ต้องทำสมุดประจำตัวไก่ชน และต้องแสดงสมุดประจำตัวไก่ชน ต่อเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ กรมปศุสัตว์ ในระหว่างทางการเคลื่อนย้าย หรือเมื่อเคลื่อนย้ายถึงปลายทาง เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้ตรวจสอบแหล่งที่มาของไก่ชนว่ามีโรคระบาดหรือไม่ และเป็นการอำนวยความสะดวกต่อผู้เลี้ยงไก่ชนในการลดขั้นตอนการขออนุญาต เคลื่อนย้าย นอกจากนี้การจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน ยังเป็นการเพิ่มมาตรฐานการเลี้ยงไก่ชนในประเทศไทยด้วย ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มมูลค่าไก่ชนทั้งภายในประเทศ และส่งออกต่างประเทศได้มาก
                                                      สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
                                          สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหน้า
                                                          สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง
                                          สมุดประจำตัวไก่ชน ด้านหลัง

ขั้นตอนการจัดทำสมุดประจำตัวไก่ชน

  1. ปศุสัตว์จังหวัด ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เลี้ยงไก่ชนทราบถึงรายละเอียด การจัดทำ สมุดประจำตัวไก่ชน รวมทั้งประโยชน์ที่ได้รับ
  2. ไก่ชนที่จะทำสมุดประจำตัว ต้องมีอายุตั้งแต่ ๘ เดือนขึ้นไป
  3. เจ้าของไก่ชน ยื่นแบบคำขอ ทำสมุดประจำตัวไก่ชน (แบบ กช.๑) ที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ
  4. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด หรือ สำนักปศุสัตว์อำเภอ จะนัดหมายเข้าของไก่ชน เพื่อตรวจสุขภาพไก่ชน เก็บตัวอย่างเพื่อนำไปทดสอบโรค และ ตรวจประวัติการได้รับวัคซีน พร้อมถ่ายรูปไก่ชน จำนวน ๓ รูป คือ
    • รูปทั้งตัว ๑ รูป
    • รูปถ่ายส่วนหัวด้านซ้าย หรือ ด้านขวา ๑ รูป
    • รูปถ่ายแข้ง ๒ ข้าง ๑ รูป โดยถ่ายภาพ ด้านหน้าของแข้งให้เห็นเกร็ดชัดเจน
  5. รูปถ่ายไก่ชน เมื่อติดในสมุดประจำตัวไก่ชน แล้ว ให้ประทับตราสำนักปศุสัตว์จังหวัด ที่ขอบของรูปถ่ายทั้ง ๓ รูป เพื่อป้องกันการเปลี่ยนรูปถ่าย
  6. การกรอกข้อมูลประวัติไก่ชน
    • พันธุ์ หมายถึง พันธุ์ของไก่ชน ได้แก่ ไทย หรือ พม่า หรือ เวียดนาม หรือ ลูกผสมไทย-พม่า เป็นต้น
    • สี หมายถึง สีที่ปรากฏจริง เช่น ขนคอแดง ขนหลังแดง และ หางดำ หรือ ระบุ ตามภาษาไก่ชน เช่น ประดู่หางดำ หรือ เหลืองหางขาว หรือ นกกรด เป็นต้น
    • ตำหนิ หมายถึง ลักษณะที่ไม่สามารถ ลบเลือนได้ เช่น ตาลาย หรือ เดือยดำ หรือ นิ้วก้อยซ้ายหัก เป็นต้น
    • ส่วนสูง หมายถึง วัดจากพื้นที่ไก่ยืนถึงหัวปีก โดยให้ไก่ยืนท่าปรกติ
  7. เจ้าหน้าที่สำนักปศุสัตว์จังหวัด เก็บตัวอย่างโดยวิธี Cloacal Swab เพื่อนำไปตรวจ ทดสอบโรค
  8. เมื่อได้รับผลการทดสอบโรคเป็นลบ จึงมอบสมุดประจำตัวไก่ชน ให้กับเจ้าของ โดยระบุเลขประจำตัวไก่ชน ๘ หลัก (ID Number) ดังนี้
    • หลักที่ ๑ และ ๒ เป็น อักษรย่อของจังหวัด
    • หลักที่ ๓ และ ๔ เป็น ปี พ.ศ.
    • หลักที่ ๕ ถึง ๘ เป็น ลำดับการออก สมุดประจำตัวเช่น กท ๔๗ ๐๐๐๑, ปท ๔๗ ๐๐๑๙

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Translate

Popular Posts