Home » » การเลี้ยงนกกระทา

การเลี้ยงนกกระทา




การเลี้ยงนกกระทา

นกกระทาญี่ปุ่น (Japanese Quail ; Coturnix coturnix japonica) เป็นชนิดย่อยของนกกระทาญี่ปุ่นที่นิยมเลี้ยงเป็นการค้าเพื่อบริโภคเนื้อและไข่ในหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่น ในหลายประเทศได้พัฒนารูปแบบการเลี้ยงและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทั้งเนื้อและไข่เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ในอดีตวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงนกกระทาญี่ปุ่นก็คือ เลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อเป็นงานอดิเรกและเพื่อฟังเสียงร้อง มีหลักฐานบันทึกไว้ว่า ชาวญี่ปุ่นได้นานกกระทามาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 12 ในยุคสมัยที่ยังมีการปกครองโดยระบบจักรพรรดิ เมื่อชาวญี่ปุ่นเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ก็ได้นำนกกระทาติดตัวไปด้วยจึงทำให้นกกระทาแพร่หลายไปหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศจีน เกาหลี และไต้หวัน จากนั้นนกกระทาได้ถูกนาเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในงานวิจัยและทดลองหลังสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นแล้ว

ข้อดีของการเลี้ยงนกกระทา

เหตุผลบางประการที่ทำให้นกกระทาได้รับความสนใจและนิยมเลี้ยงกันมาในหลายประเทศ ได้แก่
1. โรงเรือนสาหรับเลี้ยงนกกระทาไม่จำเป็นจะต้องออกแบบมาโดยเฉพาะ เพียงมีห้องว่างพอที่จะกันแดด ลม ฝน และศัตรูต่าง ๆ ได้ก็สามารถเลี้ยงนกกระทาได้แล้ว
2. นกกระทาต้องการพื้นที่การเลี้ยงน้อยจึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงต่อตัวต่ำ
3. นกกระทาสามารถเลี้ยงและจำหน่ายเป็นนกกระทาเนื้อได้เมื่ออายุประมาณ 5 สัปดาห์ และนกกระทาตัวเมียจะเริ่มวางไข่เมื่ออายุประมาณ 7 สัปดาห์ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระทาจึงสามารถคืนทุนได้เร็วกว่าการเลี้ยงไก่มาก
4. นกกระทามีความต้านทางโรคมากกว่าไก่ ดังนั้น การเลี้ยงนกกระทาจึงไม่จำเป็นจะต้องใช้วัคซีนป้องกันโรค ยาถ่ายพยาธิ จึงง่ายต่อการเลี้ยงดูและการจัดการ
5. เนื่องจากนกกระทามีขนาดเล็กจึงกินอาหารน้อยส่งผลให้ต้นทุนในการเลี้ยงดูน้อยลงด้วย
ดังนั้น ฟาร์มเลี้ยงนกกระทาจึงสามารถทำได้แม้กระทั่งเกษตรกรผู้นั้นจะมีต้นทุนน้อย มีทักษะใน
การเลี้ยงดูไม่มากนัก และสามารถคืนทุนได้เร็ว

โรงเรือนเลี้ยงนกกระทา

โรงเรือนสำหรับเลี้ยงนกกระทานั้น ควรออกแบบให้สะดวกต่อการปฏิบัติงานและการรักษาความสะอาด ปลอดภัยจากศัตรู และสิ่งรบกวนต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากนกกระทาเป็นสัตว์ที่มีความรู้สึกไวต่อสิ่งรบกวน เช่น แสงหรือเสียงมาก เมื่อมีเสียงผิดปกติมารบกวนนกกระทาจึงมักจะตกใจง่ายๆ ภายใน
โรงเรือนจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี เนื่องจากนกกระทากินอาหารที่มีโปรตีนสูงจึงขับถ่ายไนโตรเจนออกทางปัสสาวะมาก ดังนั้น ถ้าการระบายอากาศไม่ดีพอก็จะทำให้มีแอมโมเนียสะสมมากจะเป็นอันตรายต่อบุเยื่อนัยน์ตาได้
รูปแบบของโรงเรือนจะต้องเป็นแบบที่สร้างง่าย ลงทุนน้อย ซึ่งจะสร้างแบบเพิงแหงน หรือแบบหน้าจั่วเช่นเดียวกับโรงเรือนไก่ก็ได้ แต่จะต้องให้อากาศถ่ายได้สะดวก ถ้าจะเลี้ยงแบบกรงที่วางซ้อนกันหลายชั้น โรงเรือนจะต้องมีความสูงพอสมควร ส่วนขนาดของโรงเรือนจะขึ้นอยู่กับจำนวนนกที่จะเลี้ยง



อุปกรณ์ที่จำเป็นในการเลี้ยงนกกระทา

1. เครื่องกก การเลี้ยงนกกระทาสามารถทาได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงบนพื้นที่ปูทับด้วยวัสดุรองพื้น เช่น แกลบ (เปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่ว หนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงแรกของการกกจะต้องใช้ประสอบป่าน หรือกระดาษผิวด้านปูรองพื้น ล้อมรอบด้วยแผงกันกกซึ่งอาจจะทาด้วยไม้ไผ่สาน ตาข่าย หรือสังกะสีให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกกเอาไว้
เนื่องจากลูกนกกระทาแรกเกิดจะไม่สามารถผลิตความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องได้รับความอบอุ่นจากเครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้หลอดไฟหรืออาจจะใช้เครื่องกกแก๊สก็ได้ ติดตั้งไว้ตรงส่วนกลางของวงล้อมกก วงล้อมกกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตรสามารถกกลูกนกได้ 150 ตัว และไม่ควรกกลูกนกกระทาในกกเดียวกันเกิน 300 ตัว ถ้าหากใช้หลอดไฟในการกกจะต้องคำนวณจำนวนวัตต์ที่ใช้ โดยประมาณให้ใช้หลอดไฟ 1 วัตต์/ลูกนก 1 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกจะต้องมีการกกตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 จะทำการกกเฉพาะตอนกลางคืนและสัปดาห์ที่ 3 ก็ไม่จำเป็นจะต้องกก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจจะกกลูกนกจนกระทั่งอายุ 3 สัปดาห์ก็ได้
กรงกก สำหรับลูกนกซึ่งเพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกไก่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก การให้ความอบอุ่นอาจจะใช้หลอดไฟชนิดเผาไส้หรือเครื่องกกแก๊สก็ได้
ขนาดของกรงกกลูกนก ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร สูง 40-50 เซนติเมตร ใช้กกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านข้างของกรงควรจะปิดทึบ ด้านบนทำเป็นฝาบุด้วยลวดตาข่ายยกเปิดปิดได้ ส่วนพื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1 เซนติเมตร

2. อุปกรณ์ให้อาหาร สำหรับลูกนกควรใช้ถาดอาหารทำเองให้มีขอบสูงขึ้นมาประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรืออาจจะใช้รางอาหารสำหรับให้ลูกไก่ก็ได้ ในช่วง 3 วันแรกควรจะโรยอาหารลงบนพื้นที่ปูด้วยกระดาษหรือกระสอบป่านเพื่อให้นกได้รู้จักการกินอาหารได้เร็วขึ้น
อุปกรณ์ให้อาหารสาหรับนกใหญ่ ควรเป็นรางอาหารที่ตรงขอบด้านในเพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยอาหารให้หกกระเด็นออกมานอกราง ซึ่งจะตั้งไว้ภายในกรงหรือแขวนอยู่ด้านนอกกรงก็ได้
3. อุปกรณ์ให้น้ำ สาหรับลูกนกให้ใช้อุปกรณ์ให้น้ำลูกไก่แบบขวดคว่าขนาดเล็ก และใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ไว้ในจานน้ำด้วยเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนกตกน้ำ
ส่วนนกใหญ่ หรือลูกนกอายุเกิน 2-3 สัปดาห์แล้ว ใช้อุปกรณ์การให้น้ำลูกไก่แบบขวดคว่ำไม่ต้องใส่ก้อนกรวดหากให้น้าภายในกรง แต่ถ้าให้น้ำภายนอกกรงก็ใช้รางน้ำแขวนไว้ด้านนอกกรงเช่นเดียวกับรางอาหาร หรือจะใช้ขันน้ำก็ได้
4. เครื่องตัดปากนก เมื่อลูกนกมีอายุประมาณ 30 วัน ก่อนที่จะแยกไปเลี้ยงในกรงนกใหญ่ ควรจะตัดปากเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้นกจิกก้นกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้นกตายได้ วิธีการตัดปากนกกระทาทำเช่นเดียวกับการตัดปากไก่

การกกและการเลี้ยงดูลูกนก
การเลี้ยงนกกระทาสามารถทำได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ การเลี้ยงบนพื้นที่ปูทับด้วยวัสดุรองพื้น เช่น แกลบ (เปลือกข้าว) หรือเปลือกถั่ว หนาประมาณ 2.5 เซนติเมตร ในช่วงแรกของการกกจะต้องใช้กระสอบป่าน หรือกระดาษผิวด้านปูรองพื้น ล้อมรอบด้วยแผงกั้นกกซึ่งอาจจะทาด้วยไม้ไผ่สาน ตาข่าย หรือสังกะสีให้มีความสูงประมาณ 20 เซนติเมตร ล้อมรอบกกเอาไว้
เนื่องจากลูกนกกระทาแรกเกิดจะไม่สามารถผลิตความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายได้ ดังนั้น
จึงจำเป็นจะต้องได้รับความอบอุ่นจากเครื่องกก ซึ่งอาจจะใช้หลอดไฟหรืออาจจะใช้เครื่องกกแก๊สก็ได้ ติดตั้งไว้ตรงส่วนกลางของวงล้อมกก วงล้อมกกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 90 เซนติเมตรสามารถกกลูกนกได้ 150 ตัว และไม่ควรกกลูกนกกระทาในกกเดียวกันเกิน 300 ตัว ถ้าหากใช้หลอดไฟในการกกจะต้องคานวณจานวนวัตต์ที่ใช้ โดยประมาณให้ใช้หลอดไฟ 1 วัตต์/ลูกนก 1 ตัว ในช่วงสัปดาห์แรกจะต้องมีการกกตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 จะทำการกกเฉพาะตอนกลางคืนและสัปดาห์ที่ 3 ก็ไม่จาเป็นจะต้องกก แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาวก็อาจจะกกลูกนกจนกระทั่งอายุ 3 สัปดาห์ก็ได้
กรงกก สาหรับลูกนกซึ่งเพิ่งฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ต้องการความอบอุ่นเช่นเดียวกับลูกไก่ ซึ่งจำเป็นต้องให้ความอบอุ่นแก่ลูกนก การให้ความอบอุ่นอาจจะใช้หลอดไฟชนิดเผาไส้หรือเครื่องกกแก๊สก็ได้
ขนาดของกรงกกลูกนก ขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาว 1.50 เมตร สูง 40-50 เซนติเมตร ใช้กกลูกนกอายุ 1-20 วัน ได้ประมาณ 250-300 ตัว ด้านข้างของกรงควรจะปิดทึบ ด้านบนทำเป็นฝาบุด้วยลวดตาข่ายยกเปิดปิดได้ ส่วนพื้นกรงใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมขนาด 1 เซนติเมตร
การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในอุปกรณ์การให้น้ำแบบขวด และใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงในจากน้ำด้วย ในระยะ 3-7 วันแรกควรละลายพวกปฏิชีวนะผสมในน้ำให้ลูกนกกิน จะช่วยให้นกเจริญเติบโตโตเร็วและแข็งแรง
การให้อาหาร ในช่วงที่ลูกนกยังเล็กอยู่อาจจะโปรยอาหารลงบนกระดาษเพื่อให้นกได้รู้จักการกินอาหารได้เร็วขึ้น ไม่ควรโปรยอาหารหรือวางรางอาหารไว้บริเวณใต้เครื่องกก หรือหลอดไฟ เพราะนกจะนอนทับอาหารไว้ทำให้นกตัวอื่นกินอาหารไม่ได้ เมื่อนกโตขึ้นอาจใช้รางอาหารเล็กๆ ใส่อาหารให้ลูกนกกินเช่นการให้อาหารลูกไก่เล็กก็ได้ น้ำจะต้องมีให้ลูกนกได้กินตลอดเวลา
เมื่อลูกนกอายุได้ 15 วัน ก็ย้ายไปเลี้ยงในกรงนกรุ่นหรือกรงเลี้ยงนกใหญ่ได้ ทั้งนี้เพราะว่าลูกนกในระยะนี้มีความแข็งแรงพอที่จะเหยียบพื้นกรงลวดตาข่ายได้ และมีขนขึ้นเต็มตัวแล้ว


การคัดแยกเพศ
การคัดเพศนกกระทาสามารถทาได้เมื่อนกมีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ เราจะใช้วิธีการสังเกตจากลักษณะภายนอกของนกได้อย่างชัดเจนนั้นก็คือ สีขน นกตัวผู้จะมีขนหน้าอกและบริเวณลาคอสีเหลืองน้าตาลปนขาว หรือสีน้ำตาลปนแดง และขนบริเวณแก้มก็มีสีน้าตาลแกมแดงเช่นกัน ซึ่งชาวบ้านผู้รู้บางรายเรียกขนบริเวณแก้มนี้ว่าเครา ส่วนนกตัวเมียสีขนบริเวณคอไม่ค่อยเข้ม หรืออาจมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดาปนขาว เมื่อได้ทำการคัดแยกเพศได้เรียบร้อยแล้ว นกตัวผู้ก็นำไปเลี้ยงเป็นนกเนื้อขาย ส่วนนกตัวเมียก็นำไปทำการตัดปากและเลี้ยงเป็นนกกระทาไข่ขายต่อไป

ารเลี้ยงนกกระทาเนื้อ
นกกระทาเนื้อก็คือ นกกระทาตัวผู้ที่ได้จากคัดแยกเพศออกจากนกตัวเมียในช่วงอายุ 3 สัปดาห์ถึง 1 เดือน หรือเป็นนกที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทาพันธุ์ หรืออาจเป็นนกกระทาตัวเมียที่คัดออกจากนกไข่แล้ว นกกระทาเหล่านี้เราจะนำมาเลี้ยงให้เกิดการสมบูรณ์และให้เนื้อมากขึ้น เพื่อจะได้นาไปขายเป็นนกเนื้อต่อไป การให้น้ำและอาหารจะต้องให้นกได้กินน้ำและอาหารอย่างเต็มที่ตามความต้องการ โดยจะให้อาหารวันละ 2-3 ครั้ง และให้น้ำใหม่วันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) อัตราการเจริญเติบโต การกินอาหารและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารของนกกระทาเนื้อดังแสดงในตารางที่ 1
นกกระทาเนื้อสามารถจับขายได้เมื่ออายุประมาณ 5 สัปดาห์ โดยอาจจะขายในรูปของนกเป็นหรือนกกระทาชำแหละก็ได้
การเลี้ยงนกกระทาไข่
การเลี้ยงนกกระทาไข่เป็นการค้าในปัจจุบันนิยมเลี้ยงแบบขับกรงและวางกรงซ้อนกัน 4-5 ชั้น แต่ละชั้นจะห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร ช่องว่างระหว่างชั้นหรือด้านบนของพื้นหลังกรงก็จะใช้แผ่นสังกะสีแผ่นเรียบรองรับมูลนก การเลี้ยงแบบขังกรงนี้ในกรงแต่ละกรงจะต้องใช้ในอัตรา 5 ตัว/ตารางฟุต หรือ 180 ตารางเซนติเมตร/ตัว การเลี้ยงดูนกในกระทาไข่จะแตกต่างไปจากเลี้ยงดูนกกระทาในระยะอื่นๆ
ดังนี้
การให้น้ำ พื้นที่อุปกรณ์ให้น้ำจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.8 เซนติเมตร/ตัว อุปกรณ์ให้น้ำอาจจะใช้รางน้ำ ถ้วย ขัน ท่อพีวีซีผ่าครึ่ง หรือภาชนะอื่นๆ ใส่น้ำให้กินด้านนอกกรง จะต้องมีน้ำให้นกได้กินตลอดเวลา ถ้าขาดน้ำแล้วจะทำให้นกเกิดอาการเครียด และอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อการไข่ของนกกระทาได้ น้ำควรจะเปลี่ยนวันละครั้งหรือค่อยสังเกตง่ายๆ คือ อย่าให้น้ำมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหม็นบูดได้
การให้อาหาร พื้นที่อุปกรณ์ให้อาหารสำหรับนกกระทาจะต้องไม่ต่ากว่า 1.6 เซนติเมตร/ตัว มักจะใช้รางอาหารแบบให้อาหารสำหรับลูกไก่ใส่อาหารให้กิน การให้อาหารควรให้วันละ 3 เวลา คือ เช้า เที่ยง และเย็น เพราะนกกระทากินอาหารทั้งวันทั้งคืน การให้อาหารนี้ควรใส่อาหารประมาณครึ่งรางเพื่อช่วยลดการสูญเสียอาหารเนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ย เมื่อนกอายุครบ 35 วัน ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีนประมาณ 20% การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกในระยะให้ไข่นี้ ไม่ควรเปลี่ยนกะทันหันเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่ได้
การให้แสงสว่าง การให้แสงสว่างเพิ่มในช่วงกลางคืนจะช่วยให้นกกระทาไข่ได้ดีขึ้น ควรให้ความยาวแสงประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากแสงสว่างจะช่วยกระตุ้นการทำงานของต่อมใต้สมองให้สร้างฮอร์โมนไปกระตุ้นการทางานของรังไข่
นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 7 สัปดาห์และนกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 141-150 กรัม ฟองไข่จะมีน้ำหนักประมาณ10-12 กรัม นกกระทาจะให้ผลผลิตไข่สูงสุดประมาณ 80-85% เมื่ออายุ
ประมาณ 12-24 สัปดาห์ หลังจากนั้นไข่จะลดลงเรื่อย ๆ ถ้ามีการเลี้ยงและการจัดการที่ดีนกกระทาบางตัวอาจจะให้ไข่มากกว่า 260-300 ฟอง/ปี
การเก็บไข่นกกระทา นกกระทาจะเริ่มวางไข่ในช่วงค่าประมาณ 16.00-19.00 น. ดังนั้นการเก็บไข่จะเริ่มเก็บได้ตั้งแต่เวลา 19.30-20.30 น. ก่อนที่จะปิดไฟในช่วงค่า และควรเก็บทุกวัน ถ้าเป็นไปได้ควรเก็บวันละ 3-4 ครั้ง แล้วรีบนำไข่ที่ได้ไปเก็บไว้ในห้องที่เย็น เพื่อรักษาคุณภาพไข่ก่อนที่จะได้นำส่งตลาด


อาหารนกกระทา
วัตถุดิบอาหารสำหรับนกกระทาเหมือนกับที่ใช้ในอาหารไก่ แต่ขนาดของเม็ดอาหารจะต้องละเอียดกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นก็ให้อาหารเม็ดบี้แตกสำหรับไก่ลูกไก่กระทงได้ นกกระทาต้องการอาหารที่มีโปรตีนและโภชนะชนิดอื่นสูงกว่าไก่กระทง ทั้งนี้เนื่องจากนกกระทามีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าไก่กระทง ค่าความต้องการโภชนะสาหรับนกกระทาญี่ปุ่นแสดงใน
หลักปฏิบัติเพื่อให้การให้อาหารนกกระทาญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพสูงสุด
1. นกกระทาสามารถกินอาหารป่นแห้ง เม็ดบี้แตก อาหารเปียกได้ แต่ปกติจะให้อาหารป่นแห้ง เนื่องจากต้นทุนในการจัดการและการเตรียมอาหารต่าที่สุด อาหารป่นเปียกจะเพิ่มการจัดการเนื่องจาก
จะต้องผสมน้ำในสัดส่วนที่พอเหมาะและจะต้องกะปริมาณอาหารที่ให้นกกินหมดพอดีในแต่ละวัน ส่วนอาหารเม็ดบี้แตกจะต้องเพิ่มต้นทุนในการอัดเม็ดอาหารและบี้ให้อาหารอัดเม็ดนั้นแตกเพื่อให้มีขนาดเม็ดพอเหมาะสาหรับการกินของนกกระทา
2. การผสมอาหารนกกระทาเล็กจะต้องบดวัตถุดิบอาหารให้ละเอียดเสียก่อน โดยเฉพาะอาหารสาหรับนกกระทาเล็ก
3. ควรให้อาหารทันทีที่ลูกนกมาถึง
4. จะต้องมีอาหารและน้ำให้นกกินตลอดเวลา
5. ในช่วง 2-3 วันแรกของการกก จะต้องให้อาหารให้เต็มรางอาหารและควรโรยอาหารบางส่วนลงบนพื้นที่ปูทับด้วยกระดาษด้วยเพื่อให้ลูกนกได้ฝึกกินอาหารได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นจะใช้รางอาหารที่ปิดทับด้วยตาข่ายขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อป้องกันการคุ้ยเขี่ยของนก
6. รางอาหารสำหรับนกกระทาจะต้องออกแบบให้มีขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับจำนวนนกที่เลี้ยงและขนาดของนกแต่ละช่วงอายุ เพื่อให้มีการสูญเสียอาหารน้อยที่สุด หลักในการออกแบบจะต้องป้องกันนกลงไปกินอาหารในรางและจะต้องป้องกันการคุ้ยเขี่ยอาหารของนกให้มากที่สุด
7. การกินอาหารของนกกระทาในช่วง 6 สัปดาห์แรกประมาณ 500 กรัม/ตัว หลังจากนั้นนก
กระทาจะกินอาหารประมาณ 25 กรัม/ตัว/วัน
8. ในช่วงฤดูร้อนนกกระทาจะกินอาหารน้อยลง จึงควรเพิ่มระดับโปรตีนและวิตามินในอาหารให้สูงขึ้นและควรให้อาหารในช่วงที่มีอากาศเย็นเพื่อกระตุ้นให้นกกินอาหารได้มากขึ้น

โรคและการป้องกัน
นกกระทามีความทนทานต่อโรคติดต่อมากกว่าไก่ อัตราการตายในระยะกกอาจสูงถึง 20-25% ถ้าหากมีการจัดการไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องของการให้ความอบอุ่นในการกก การกกที่หนาแน่นเกินไป หรือการใช้อุปกรณ์ให้น้ำและอาหารไม่เหมาะสม ถ้ามีการจัดการและการเลี้ยงดูที่ถูกต้องนกกระทาจะมีอัตราการตายตั้งแต่แรกเกิดจนถึงจับขายเป็นนกเนื้อประมาณ 8-10% การจัดการป้องกันโรคติดต่อเหมือนกับการเลี้ยงไก่ แต่การเลี้ยงนกกระทาไม่จำเป็นจะต้องทำวัคซีนเหมือนกับไก่กระทงและไก่ไข่

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Translate

Popular Posts