Home » » การผลิตมะม่วงนอกกฤดู

การผลิตมะม่วงนอกกฤดู



     การนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ (การผลิตมะม่วงนอกกฤดู)

      สามารถผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้คุณภาพ  เฉลี่ย 3,125  กิโลกรัมต่อไร่  สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ  (ผลผลิตมะม่วงจังหวัดอุดรธานีเฉลี่ย  990 กิโลกรัมต่อไร่  ผลผลิตเฉลี่ยของประเทศ  1,425 กิโลกรัม/ไร่)  ส่งออกผ่านบริษัทส่งออกต่างประเทศ  6,000 กิโลกรัม/ปี  เกษตรกรมีการปรับช่วงเวลาการผลิตมะม่วงนอกฤดูโดยตัดแต่งกิ่งเดือนพฤษภาคม  ราดสารเดือนมิถุนายนเริ่มเก็บผลผลิตเดือนธันวาคม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ผลผลิตออกมาตรงกับผลผลิตมะม่วงจากจังหวัดพิจิตรและ พิษณุโลก ทำให้สามารถจำหน่ายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น  โดยมีวิธีการจัดการผลิตมะม่วงนอกฤดู ดังนี้คือ

     1. จัดเตรียมอุปกรณ์  ปุ๋ยเคมี  สารเคมีฯ ถุงคาร์บอนสำหรับห่อผลมะม่วง เตรียมไว้ก่อนเริ่มกระบวนการผลิตมะม่วง  โดยซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงบ้านห้วยไร่บูรพา ซึ่งทางกลุ่มได้จัดซื้อสารเคมีจากร้านค้าหรือบริษัทที่ขึ้นทะเบียนกับกรม วิชาการเกษตร สารเคมีที่ใช้ต้องไม่ใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 มีฉลากชัดเจน รวมทั้งควบคุมไม่ให้สมาชิกในกลุ่มใช้สารเคมีที่ประเทศคู่ค้าห้ามใช้

    2. ใส่ปุ๋ยสูตร  15-15-15 ก่อนการตัดแต่งกิ่ง 7 วัน  อัตรา 500 กรัมต่อต้น เพื่อให้ต้นมะม่วงมีการสะสมอาหารก่อน(เมื่อตัดแต่งกิ่งเสร็จ ต้นพืชสามารถดึงอาหารที่สะสมมาใช้ในการแตกใบอ่อนได้เร็วขึ้น) และจะใส่ปุ๋ยคอก(มูลวัว) อัตรา 200 กิโลกรัมต่อไร่  โดยจะใส่ปีเว้นปีเพื่อให้โครงสร้างดินดีขึ้นรากสามารถชอนไชหาอาหารได้มาก ขึ้นและต้นพืชแข็งแรง แต่หากใส่ปีเว้นปีจะทำให้มะม่วงแตกยอดมากเกินไปการออกดอกติดผลลดลง

    3. ตัดแต่งกิ่งมะม่วงให้เหลือกิ่งไว้ประมาณ 60 % ของต้น (4-5 กิ่ง) แต่งทรงพุ่มแบบเปิดฝาชีหงาย  เพื่อให้สารเคมีที่ฉีดพ่นไปได้ทั่วถึงทั้งทรงพุ่ม
       ในระยะการตัดแต่งกิ่งจะทำความสะอาดสวน โดยฉีดพ่นเมโทมิล อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร  เพื่อป้องกันกำจัดแมลง (มด,เพลี้ยจักจั่น และแมลงอื่นๆ) ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา คาร์เบนดาซิม อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร   เพื่อลดการสะสมโรค และทำให้การจัดการ การตัดแต่งกิ่งทำได้สะดวก  โดยฉีดพ่นจากด้านล่าง (โคนต้น) ขึ้นไปด้านบน จำนวน 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 5 วัน

    4. หลังตัดแต่งกิ่งไม่เกิน 15 วัน ทำดึงยอดมะม่วง  โดยการฉีดพ่นไทโอยูเรียเพื่อกระตุ้นให้มะม่วงแตกใบอ่อนพร้อมกัน ในช่วงใบอ่อนหากมีแมลงค่อมทองและด้วงเข้ากัดกินใบ จึงจะฉีดพ่นอะบาเม็กตินหรือเมโทมิล อัตรา 300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร

    5. ราดสารพาโคลบิวทราโซล มะม่วงน้ำดอกไม้ อัตรา 200 ซี.ซี./น้ำ 1 ลิตร  มะม่วงแก้ว  อัตรา   100 ซี.ซี./น้ำ 1 ลิตร  เขียวเสวย อัตรา 300 ซี.ซี./น้ำ 1 ลิตร  ห่างจากโคน 15 เซนติเมตร  

    6. หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล 15-30 วัน ใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 8-24-24 อัตรา 500 กรัมต่อต้น และฉีดพ่นปุ๋ยเคมี สูตร 0-52-34 ทุกๆ 7 วัน ฉีดประมาณ 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มการสร้างตาดอก

    7. หลังราดสารพาโคลบิวทราโซล 60 วัน ฉีดพ่นไธโอยูเรีย อัตรา 500 กรัม ผสมกับโปแตสเซียมไนเตรท (13-0-46) อัตรา 2 กิโลกรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน และหลังจากนั้นฉีดพ่นเฉพาะโปแตสเซียมไนเตรทอัตรา 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 3-4 ครั้ง ทุก 7 วัน เพื่อให้ออกดอกพร้อมๆ กัน หลังจากนั้นประมาณ  15 วัน  มะม่วงจะเริ่มออกดอก  ประมาณ  30 วัน ติดผลเท่ากับหัวไม้ขีดไฟ ในระหว่างที่มะม่วงออกดอกติดผลฉีดพ่นแคลเซียม โบรอน ในอัตรา 300 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ทุก 7 วัน            

    8. การสำรวจศัตรูพืชและวางแผนป้องกันกำจัด หากสภาพอาการร้อนแห้งจะมีการระบาดของเพลี้ยไฟเกษตรกรจะเลือกฉีดพ่น อะบาเม็กติน  เมโทมิล อิมิดาคลอพริด คาร์บาริล ในอัตราที่แนะนำ และเมื่อมีฝนตกหรือความชื้นสูงเกษตรกรจะเลือกฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา ซึ่งได้แก่ โพรคลอราช โปรพิแนบ แคบแทน คาร์เบนดาซิม ในอัตรา 200-300 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร โดยที่เกษตรกรจะไม่ฉีดสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแต่ละชนิดติดต่อกันเกิน 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้ศัตรูพืชดื้อยา
         -  ทำกับดักแมลงวันผลไม้จากขวดพลาสติกและวัสดุเหลือใช้ เพื่อเป็นการตรวจเช็คปริมาณแมลงวันผลไม้ ซึ่งเป็นศัตรูมะม่วงที่สำคัญมาก โดยมีวิธีการคือเจาะขวดน้ำพลาสติกและใช้สารล่อแมลงเมทิล          ยูจินอล ผสมกับมาลาไทออน ซึ่งจะทำให้มีกลิ่นคล้ายฝรั่งที่แมลงวันทองชอบและบินติดในกับดัก ทำวางกับดักทั่วทั้งสวนประมาณ 20 จุด
         - ฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้ที่ได้จากการเผาถ่าน โดยหลังจากการตัดแต่งกิ่งมะม่วงแล้วนำกิ่งที่มีขนาดใหญ่มาเผาถ่านเพื่อใช้ใน ครัวเรือน รองเอาน้ำส้มควันไม้จากเตาเผาทิ้งไว้ 4-5 เดือน ก่อนนำมาใช้ฉีดพ่นไล่แมลงในอัตรา 300 ซีซีต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 4-5 วัน สลับกับการใช้สารเคมี ใช้น้ำส้มควันไม้ปีละประมาณ 5 ลิตร โดยเฉพาะในช่วงใกล้เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วคือเดือน พฤศจิกายน และธันวาคม ซึ่งทำให้ลดปริมาณการใช้สารเคมีและต้นทุนในการผลิตลง
         - ปัญหาที่พบได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟ แมลงค่อมทอง ด้วงกัดกินใบอ่อน แมลงวันทอง              โรคแอนแทรคโนส และราน้ำมัน

    9.  เริ่มห่อผลมะม่วงเมื่อมีผลขนาดเท่าไข่ไก่ โดยเลือกห่อเฉพาะผลที่มีรูปทรงสวยงาม ส่วนผลที่ไม่ได้คุณภาพหรือมีลักษณะที่ไม่ตรงตามความต้องการจะคัดทิ้ง (ห่อผลมะม่วง ไม่เกิน 3 ผลต่อช่อ)
         -  ก่อนห่อผลผลิต ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง (อะบาเม็กตริน, อิมิดาคลอพริด) และสารป้องกันจัดเชื้อรา (โปรพิแนบ) เพื่อป้องกันเพลี้ยแป้ง เพลี้ยไฟและโรคแอนแทรคโนส มีการตัดแต่งผลผลิตที่รูปทรงผิดปกติ ผิวไม่สวยและไม่ได้คุณภาพออก
         -  ห่อผลมะม่วงด้วยถุงกระดาษคาร์บอน แทนการใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อป้องกันการทำลายของศัตรูพืช แมลงวันผลไม้และทำให้ผิวสวย ปลอดภัยจากสารพิษ คุณภาพดีตรงตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ
         -  ทำสัญลักษณ์ถุงห่อเพื่อง่ายต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต นอกจากการห่อผลด้วยกระดาษคาร์บอนแล้วต้องทำสัญลักษณ์การห่อผล ซึ่งในมะม่วงหนึ่งต้นหรือในพื้นที่หนึ่งจะเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่เท่ากันคือ ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยว 2 ครั้ง จึงต้องติดริบบิ้นสีต่าง ๆ เพื่อบ่งบอกถึงช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันการเก็บเกี่ยวผลอ่อนไม่ได้ อายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และประหยัดเวลาในการเก็บเกี่ยวโดยไม่ต้องแกะถุงดูผลมะม่วงทุกถุงก่อนเก็บผล ผลิต
      10. การเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยหลังจากห่อผลมะม่วงประมาณ 50 วัน เริ่มทยอยเก็บผลผลิตขายได้ หรือที่ความสุกแก่ประมาณ 80-85 เปอร์เซ็นต์ (โดยการแช่น้ำ ส่วนที่โผล่พ้นน้ำมีขนาดเท่าเหรียญบาท) การเก็บเกี่ยวต้องใช้ความระมัดระวังสูงเพื่อป้องกันผลผลิตเสียหาย วิธีการจึงเปลี่ยนจากที่เคยใช้ตะกร้อสอยเปลี่ยนเป็นการใช้บันไดปีนขึ้นเก็บ ผลผลิตด้วยมือทีละลูก บรรจุในตะกร้าพลาสติกขนย้ายไปคัดแยก
      11. การคัดคุณภาพผลผลิต เมื่อเก็บผลผลิตแล้วนำมาคัดแยกก่อนที่จะนำไปยังจุดจำหน่ายผลผลิตของกลุ่ม ซึ่งจะมีแรงงานจากบริษัทรับซื้อมาคัดแยกอีกครั้ง ในขั้นตอนการคัดแยกนี้เจ้าของสวนจะพาแรงงานไปศึกษาวิธีการคัดแยก ดูลักษณะผลผลิตที่บริษัทรับซื้อต้องการมาก่อนที่จะทำการคัดที่สวน มีการสวมถุงมือ และทำงานด้วยความประณีต โดยมะม่วงแต่ละพันธุ์จะมีการคัดคุณภาพดังนี้

           - มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ หากส่งออกจะเก็บที่ความสุกแก่ 80-85 เปอร์เซ็นต์ จำหน่ายภายในประเทศจะเก็บที่ความสุกแก่ 90-95 เปอร์เซ็นต์ โดยเกรด A จะต้องมีน้ำหนัก 250 กรัมขึ้นไป ผิวสวยเรียบ ไม่มีรอย จุดดำ ไม่มีราน้ำมันและแอนแทรคโนส  เกรด B น้ำหนัก 300 กรัมขึ้นไป ผิวมีรอยจุดกระดำมีตำหนิได้เล็กน้อย เกรด C น้ำหนักต่ำกว่า 300 ผิวมีรอยจุดกระดำมีตำหนิได้

           - มะม่วงฟ้าลั่น เก็บเกี่ยวที่อายุ 60 วันหลังออกดอก หรือสุกแก่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ จะได้ผลผลิตที่มีสามรส คือเปรี้ยว หวาน มัน โดยเกรด A จะต้องมีน้ำหนัก 300 กรัมขึ้นไป ผิวมีตำหนิได้ไม่จำเป็นต้องเรียบสวยเพราะเป็นมะม่วงที่ไม่ได้ห่อผลด้วย กระดาษ เกรด B จะมีน้ำหนักน้อยกว่า 300 กรัม

           - มะม่วงแก้ว เก็บเกี่ยวเมื่อมะม่วงมีความสุกแก่ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ โดยการคัดเกรดขึ้นอยู่กับน้ำหนัก ส่วนผิวมีรอยกระ รอยดำได้เพราะเป็นมะม่วงที่ไม่ได้ห่อผลด้วยกระดาษเช่นเดียวกับมะม่วงฟ้าลั่น โดยเกรด A จะต้องมีน้ำหนัก 400-500 กรัม เกรด B น้ำหนักระหว่าง 300-400 กรัม
thepporn04 tanom06 thepporn05 

วิธีบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอกนอกฤดู

บังคับให้มะม่วงออกดอก เพื่อผลิตมะม่วงนอกฤดู

มะม่วงนอกฤดู

ปัจจัย สำคัญอันดับแรกในการผลิตมะม่วงนอกฤดู คือการบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอกนั่นเองครับ ซึ่งก็สามารถทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันมากในปัจจุบันก็คือ การใช้สารพาโคลบิวทราโซล หรือชื่อทางการค้าที่เรามักเรียกว่า คัลทาร์  เทคนิคง่ายๆ ในการทำให้มะม่วงออกดอก ก็คือให้ราดสารนี้ลงในดินรอบ ๆ ต้นมะม่วงเท่านี้เองครับ แต่อย่าคิดว่าง่ายเสมอไปนะครับ ก่อนอื่นต้องทำตามขั้นตอนดังนี้ก่อน
เทคนิคผลิตมะม่วงนอกฤดู
วิธีบังคับให้มะม่วงออกดอก

1. อันดับแรกต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือหลังจากเก็บผลผลิตแล้วให้ทำการตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นก็ปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุดก่อน

2. ให้สังเกตต้นมะม่วง เพราะระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารเร่งการออกดอกมะม่วง คือช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3. ตรวจดูว่าดินมีความชื้นเพียงพอหรือยัง แล้วจึงทำการราดารเร่งดอกมะม่วงดังกล่าว และเมื่อราดสารลงรอบโคนต้นมะม่วงแล้ว ให้รดน้ำตามทันที เพื่อให้รากมะม่วงดูดสารเร่งดอกได้อย่างเต็มที่

4. หลังจากราดสารเร่งดอกมะม่วงประมาณ 2 เดือน มะม่วงจึงจะออกดอก (สำหรับมะม่วงสายพันธุ์ที่ออกดอกไม่ยากนัก) ส่วนมะม่วงสายพันธุ์ที่ไม่ออกดอกภายใน 2 เดือน อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตาช่วย เช่น ใช้โปรแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5 % หรือไทโอยูเรีย 0.5 % ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้การออกดอกของมะม่วงเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้นครับ


** อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซล เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง **
การผลิตมะม่วงนอกฤดู

ตารางที่ 1  แผนการดำเนินกิจกรรมภายในฟาร์มของนายเทพพร หิรัญรัตน์
gap03-1
1.  ข้อมูลด้านคุณภาพ
       เกษตรกรจะเก็บผลผลิตเฉพาะที่ได้คุณภาพตรงตามพันธุ์และความต้องการของตลาด เท่านั้น เช่นมะม่วงน้ำดอกไม้ต้องสุกแก่ 80-85 เปอร์เซ็นต์ เมื่อบ่มจำหน่ายแล้วจะได้รสหวาน กลิ่นหอม หากเก็บมะม่วงที่อ่อนเกินไปจำหน่ายให้พ่อค้า จะทำให้ได้มะม่วงรสเปรี้ยว คุณภาพไม่ดี รวมทั้งต้องงดการฉีดพ่นสารเคมีในช่วงก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 1 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากเกษตรกรคำนึงถึงความพึงพอใจและความปลอดภัยของผู้บริโภค ไม่ต้องการเอารัดเอาเปรียบลูกค้า และทำให้เสียชื่อเสียงของกลุ่มผู้ปลูกมะม่วงทั้งหมด
เกษตรกรมีการวางแผน การผลิตและลดความเสี่ยงโดยปลูกมะม่วง 3  แปลง  พื้นที่  25  ไร่  3 งาน โดยปลูกมะม่วง  3 พันธุ์  เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านผลผลิตและการตลาด ซึ่งได้วางแผนการผลิต เฉพาะพื้นที่ให้ผลผลิตแล้ว  20 ไร่ 3 งาน  ไว้ดังนี้
        -  มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้  16 ไร่       
        -  ฟ้าลั่น  3   ไร่ 3 งาน         
        -  มะม่วงแก้ว  1 ไร่              


2.  ข้อมูลด้านการตลาด
       มีการวางแผนการผลิตการตลาด  ปี 2555/2556
       -  มะม่วงน้ำดอกไม้  16 ไร่  เก็บเกี่ยวผลผลิตเดือน ธันวาคม, เดือนมกราคม–พฤษภาคม        ผลผลิต 50,000 กิโลกรัม/ปี โดยจะส่งออกร้อยละ 60 (เกรด A)  ขายส่งในจังหวัด/ในประเทศ (เกรด B-C)  ร้อยละ 25  บ่มผลสุกจำหน่ายเองร้อยละ 15   
       -  มะม่วงฟ้าลั่น  3 ไร่ 3 งาน  ผลผลิต 12,000 กิโลกรัม/ปี    ขายส่งในจังหวัดและใน/ต่างประเทศ (คละเกรด)  ร้อยละ 90  จำหน่ายเองร้อยละ 10
       -  มะม่วงแก้ว  1 ไร่  เก็บเกี่ยวผลผลิตเดือน มีนาคม–พฤษภาคม ผลผลิต 3,000 กิโลกรัม/ปี    ขายส่งในจังหวัด/ในประเทศ(คละเกรด)  ร้อยละ 90  บ่มผลสุกจำหน่ายเองร้อยละ 10  


  
3. เส้นทางการตลาด        - มะม่วงน้ำดอกไม้  เกรด A เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกมะม่วงบ้านห้วยไร่บูรพา ให้แก่บริษัทส่งออกซึ่งได้แก่ บริษัทสยามเอ๊กซปอร์ต มาร์ท จำกัด บริษัท สวิฟท์ โปรดักซ์ และบริษัท พีแอนแอฟ ซึ่งส่งออกไปยังประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป     เกรด B และ C เกษตรกรจะจำหน่ายผลผลิตเองโดยมีพ่อค้าคนกลางจากตลาดเมืองทอง (จังหวัดอุดรธานี) และพ่อค้าคนกลางจากตลาดไทย มารับซื้อถึงสวน
       - มะม่วงฟ้าลั่น  เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตเองโดยมีพ่อค้าคนกลางจากตลาดเมืองทอง (จังหวัดอุดรธานี) มารับซื้อ เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศลาวและเวียดนาม รวมทั้งมีพ่อค้าจากประเทศเวียดนามมารับซื้อผลผลิตโดยตรงจากเกษตรกร
       - มะม่วงแก้ว  เกษตรกรจำหน่ายผลผลิตเองโดยมีพ่อค้าคนกลางจากตลาดเมืองทอง (จังหวัดอุดรธานี) มารับซื้อ เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศลาว
สำหรับ การผลิตมะม่วงของอำเภอหนองวัวซอ จากข้อมูลปี 2554  อำเภอหนองวัวซอ มีพื้นที่ปลูกมะม่วง  5,693 ไร่  มีพื้นที่ให้ผลผลิต 3,060 ไร่ ผลผลิตส่งออกรวม  2,496 ตัน มูลค่าการส่งออก  61.72 ล้านบาท  โดยมีประเทศที่ส่งออก คือ ประเทศญี่ปุ่น  เยอรมัน  และเกาหลีใต้  เป็นการส่งออกมะม่วงน้ำดอกไม้  ส่วนประเทศเวียดนาม และ สปป.ลาว  ส่งออกมะม่วงฟ้าลั่น  มะม่วงเขียวเสวย  มะม่วงแก้ว  มะม่วงน้ำดอกไม้ 


4. ข้อมูลต้นทุน/รายได้  (ย้อนหลัง 3 ปี)
      กิจกรรมที่ดำเนินการ มะม่วง 3 แปลง  พื้นที่  25  ไร่ 3 งาน ปลูกมะม่วง  3 พันธุ์  ได้แก่    
      - มะม่วงน้ำดอกไม้ 16 ไร่      
      - มะม่วงแก้ว  4 ไร่ 
      - มะม่วงฟ้าลั่น  5   ไร่ 3 งาน   
     โดยปี 2552/53 ถึง ปี 2553/54  และปี 2554/55 มะม่วงให้ผลผลิต  20  ไร่  3 งาน
ยังไม่ให้ผลผลิต  5 ไร่  แรงงานในครัวเรือน  2  คน  

ตารางที่ 1 ต้นทุนการผลิตมะม่วง

รายการ
ต้นทุนการผลิตต่อไร่ (บาท)
ปี พ.ศ.
เฉลี่ย
3 ปี
2552/53
2553/54
2554/55
1. ค่าแรงตัดแต่งกิ่ง
400
400
500
433
2. ค่าสารพาโคลบิวทราโซล
800
800
800
800
3. ค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและอาหารเสริม
800
800
816
805
4. ค่ากำจัดวัชพืช (น้ำมันเครื่องตัดหญ้า)
300
350
500
383
5. ค่าปุ๋ยคอก/ปุ๋ยเคมี
300
804
940
681
6. ค่าถุงห่อผล
2,500
3,907
6,250
4,219
7. ค่าแรงงานห่อผลและเก็บเกี่ยว
912
936
1,919
1,256
รวมต้นทุนต่อไร่
6,012
7,997
11,725
8,578
ต้นทุนการผลิตรวม
124,749
165,938
243,294
177,994

ตารางที่ 2 ผลผลิตมะม่วงและรายได้และรายได้สุทธิ (บาท) 


ผลผลิต (กิโลกรัม)และรายได้ (บาท) ต่อ ไร่
รายการ
2552/53
2553/54
2554/55
เฉลี่ย 3 ปี

ผลผลิต
รายได้
ผลผลิต
รายได้
ผลผลิต
รายได้
ผลผลิต
รายได้
มะม่วงน้ำดอกไม้
2,188
32,820
2,500
50,000
3,125
78,125
2,604
52,080
ราคา (บาท/กิโลกรัม)
15
20
25
20
ผลผลิตและรายได้รวม
35,000
525,000
40,000
800,000
50,000
1,250,000
41,667
833,340
มะม่วงแก้ว
2,150
32,250
3,000
45,000
3,000
45,000
2,717
40,755
ราคา (บาท/กิโลกรัม)
15
15
15
15
ผลผลิตและรายได้รวม
35,000
32,250
40,000
45,000
50,000
45,000
41,667
40,755
ฟ้าลั่น
1,600
19,200
2,400
36,000
3,200
64,000
2,400
38,400
ราคา (บาท/กิโลกรัม)
12
15
20
16
ผลผลิตและรายได้รวม
6,000
72,000
9,000
135,000
12,000
240,000
9,000
144,000





ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
43,150
52,000
65,000
53,383
รายได้รวม (บาท)
629,250
980,000
1,535,000
1,048,083.33
รายได้สุทธิ (บาท)
504,501
814,062
1,291,706
807,089.67

0 ความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

Translate

Popular Posts